แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - siritidaphon

หน้า: [1] 2 3 ... 12
1
Doctor At Home: โรคแอดดิสัน (Addison’s disease)

โรคแอดดิสัน หมายถึง ภาวะพร่องฮอร์โมนสเตียรอยด์เรื้อรัง (chronic adrenocortical insufficiency)* เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก พบมากในคนอายุ 30-50 ปี เป็นโรคที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

* ส่วนภาวะพร่องฮอร์โมนสเตียรอยด์เฉียบพลัน (acute adrenocortical insufficiency) มักเกิดจากการหยุดยาสเตียรอยด์ทันที ในผู้ป่วยที่กินยาสเตียรอยด์ติดต่อกันมานาน ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีภาวะต่อมหมวกไตฝ่อ (หรือภาวะพร่องฮอร์โมนสเตียรอยด์) จากยาสเตียรอยด์ที่ใช้มานาน เมื่อหยุดยา ร่างกายก็เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนสเตียรอยด์อย่างเฉียบพลัน อาจทำให้เกิดภาวะช็อกถึงตายได้ เรียกว่า ภาวะต่อมหมวกไตวิกฤติ (adrenal crisis) ดูเพิ่มเติมใน “ภาวะช็อก” และ “โรคคุชชิง”

สาเหตุ

เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนสเตียรอยด์ได้น้อยกว่าปกติ ตรงกันข้ามกับโรคคุชชิงที่สร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากต่อมหมวกไตส่วนเปลือกถูกทำลายหรือฝ่อ เนื่องมาจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานตนเอง อาจพบร่วมกับต่อมไทรอยด์อักเสบ ภาวะขาดพาราไทรอยด์ เบาหวาน ผมร่วงเป็นหย่อมไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น

ส่วนน้อยอาจเกิดจากเป็นวัณโรคของต่อมหมวกไต หรือมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากที่อื่น (เช่น ปอด เต้านม) โรคติดเชื้อราของต่อมหมวกไต (ในผู้ป่วยเอดส์) หรืออาจเกิดจากยา (เช่น คีโตโคนาโซล ไรแฟมพิซิน) เป็นต้น


อาการ

มักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นช้า ๆ ด้วยอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด (ผอมลง) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

อาจมีอาการท้องเดินบ่อย ท้องอืดเฟ้อ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ในผู้หญิงอาจมีอาการขาดประจำเดือน

บางรายผิวหนังอาจมีรอยด่างขาวร่วมด้วย

ผู้ป่วยมักมีความดันต่ำ ทำให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียนเวลาลุกขึ้นเร็ว ๆ

ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์อ่อนไหว ซึมเศร้า หรือมีอาการของโรคจิต


ภาวะแทรกซ้อน

ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าเป็นรุนแรงอาจเกิดภาวะต่อมหมวกไตวายเฉียบพลัน (acute adrenal failure) หรือภาวะต่อมหมวกไตวิกฤติ ซึ่งอาจพบขณะเป็นโรคติดเชื้อ ได้รับบาดเจ็บ ขณะผ่าตัด ตั้งครรภ์ใกล้คลอด มีภาวะเครียดทางร่างกาย หรือขาดยาสเตียรอยด์ทันทีทันใด ทำให้มีไข้สูง ซึม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ความดันต่ำ ช็อก ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงตายได้


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งที่ตรวจพบ ดังนี้

ผิวหนังจะมีสีดำคล้ำในบริเวณที่มีรอยถูไถ เช่น ข้อเข่า ข้อพับ ข้อศอก ที่หน้า หัวนม ลายมือ รอยแผล ผ่าตัด เป็นต้น และบริเวณเยื่อเมือกในช่องปาก (เหงือก ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น) อาจมีรอยตกกระดำ ๆ อาจพบภาวะซีด ความดันต่ำ ขนรักแร้และขนในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ร่วง ซึ่งจะเห็นชัดในผู้หญิง

แพทย์จะทำการวินิฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจเลือด (พบระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนสตีรอยต์ต่ำ ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ) เอกซเรย์ปอด (เพื่อตรวจดูการติดเชื้อวัณโรคหรือเชื้อรา หรือมะเร็ง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้) ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (เพื่อดูลักษณะผิดปกติของต่อมหมวกไต) และถ้าจำเป็นอาจต้องตรวจพิเศษ อื่น ๆ


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้กินสเตียรอยด์ทดแทน เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน (hydrocortisone) หรือเพร็ดนิโซโลน

ในรายที่มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำร่วมด้วย ให้กินยาเพิ่มอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ ฟลูโดรคอร์ติโซน (fludrocortisone)

แพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาโดยการตรวจเลือดเป็นระยะ และปรับขนาดยาตามความเหมาะสม ในช่วงที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อ ได้รับบาดเจ็บหรือการผ่าตัด อาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยาให้สูงขึ้นตามความต้องการของร่างกาย

นอกจากนี้ ถ้าพบว่ามีสาเหตุของการเกิดโรคนี้ชัดเจน เช่น การติดเชื้อวัณโรคหรือเชื้อรา ก็จำเป็นต้องให้ยารักษาโรคเหล่านี้ควบคู่กันไป


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด วิงเวียนเวลาลุกขึ้นเร็ว ๆ มีสีดำคล้ำที่ผิวหนังในบริเวณที่มีรอยถูไถและบริเวณเยื่อเมือกในช่องปาก ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคแอดดิสัน ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    ควรกินอาหารให้เค็มจัด เพราะต้องการเกลือโซเดียมมากขึ้น และควรกินอาหารพวกโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้ำตาล) ให้มาก ๆ ควรกินบ่อยมื้อกว่าปกติ
    ควรพกสมุดหรือบัตรติดตัวเป็นประจำ เขียนบอกถึงโรคที่เป็น และยาที่ใช้รักษา หากเกิดภาวะต่อมหมวกไตวายเฉียบพลันในเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้พบเห็นและแพทย์จะได้ให้ความช่วยเหลือได้ถูกต้อง โดยให้น้ำเกลือและฉีดไฮโดรคอร์ติโซน เข้าทางหลอดเลือดดำทันที


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    กินยาแล้วไม่ทุเลา หรือ มีอาการไม่สบาย เช่น มีไข้ ซึม ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน เป็นต้น หรือตั้งครรภ์
    ขาดยาหรือยาหาย
    กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผลเต็มที่ เนื่องจากโรคนี้เกิดจากสาเหตุหลายอย่าง

อาจป้องกันได้สำหรับส่วนที่เกิดจากสาเหตุที่ป้องกันได้ เช่น การรักษาโรคติดเชื้อ (เช่น วัณโรค เชื้อรา) ของต่อมหมวกไต การรักษามะเร็งของอวัยวะส่วนอื่นไม่ให้แพร่กระจายมาที่ต่อมหมวกไต การระมัดระวังในการใช้ยา (เช่น คีโตโคนาโซล ไรแฟมพิซิน)

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้มีทางรักษาให้มีชีวิตยืนยาวเช่นคนปกติ แต่ต้องกินยาทุกวัน อย่าได้ขาด

2. ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคติดเชื้อ ตั้งครรภ์ หรือมีอาการไม่สบายอื่น ๆ อาจทำให้อาการกำเริบมากขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ อาจต้องเพิ่มขนาดของยาไฮโดรคอร์ติโซน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะต่อมหมวกไตวายเฉียบพลัน

2
motor expo 2025: GWM สยายปีกสู่เวทีระดับโลก เปิด 3 กลยุทธ์สำคัญ ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ทุ่ม 500 ล้านหยวน

GWM ยกระดับสู่การเป็นแบรนด์รถยนต์ที่มีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทุกประเภทพลังงานที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั่วทุกมุมโลก ด้วยแนวคิด “ครอบคลุมทุกการใช้งาน (All Scenarios) ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกพลังงาน (All Powertrains) สู่การตอบสนองทุกกลุ่มผู้ใช้งานอย่างแท้จริง (All Users)” โดยในงาน Auto Shanghai 2025 ครั้งที่ 21 นอกจากจะได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลามจากผู้เข้าชมงานทั่วโลกด้วยทัพยนตรกรรมกว่า 40 รุ่น จาก 6 แบรนด์หลัก

GWM ยังได้ประกาศ 3 กลยุทธ์สำคัญเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจในระดับโลกอีกด้วย ได้แก่
1.) ยกระดับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ พร้อมตอบความต้องการในทุกตลาดด้วยนวัตกรรมที่หลากหลายและครอบคลุม
2.) พัฒนานวัตกรรมระบบขับเคลื่อนที่ล้ำหน้าและหลากหลายของตนเองเพื่อผู้ใช้ทั่วโลก
3.) สร้างระบบนิเวศร่วมกับชุมชนทั่วโลก พร้อมทุ่มงบประมาณกว่า 500 ล้านหยวน (2,300 ล้านบาทโดยประมาณ) เพื่อจัดตั้งศูนย์ทดสอบความปลอดภัยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ทั้งหมดนี้ คือการมุ่งสร้างการเติบโตในระดับสากลของ GWM เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นแบรนด์รถยนต์ระดับโลกที่ล้ำหน้าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง มอบประสบการณ์อัจฉริยะในการเดินทางเพื่ออนาคตที่ครอบคลุมกว่าและเหนือกว่าในทุกมิติอย่างแท้จริง

มู่ เฟิง ประธาน GWM กล่าวว่า “ภารกิจของ GWM คือการก้าวข้ามขีดจำกัดในทุกมิติ เพื่อมอบยนตรกรรมอัจฉริยะที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานทั่วโลก โดยในครั้งนี้บริษัทฯ มาพร้อมกับ 3 กลยุทธ์สำคัญที่กำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจนับจากนี้ โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัย การพัฒนาและผลิตเครื่องยนต์อย่างครบวงจร รวมทั้งการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ที่ยั่งยืนในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุก ๆ ด้าน GWM จะยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้บุกเบิกทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมสร้างไลฟ์สไตล์ยานยนต์ที่สอดคล้องกับแนวคิด เทคโนโลยีที่เต็มไปด้วยความรัก และโลกที่เต็มไปด้วยพลังชีวิต (Tech With More Love. World With More Life) เพื่อให้ครอบคลุมความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าทั่วโลก”
 
3 กลยุทธ์สำคัญในการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจในระดับโลกของ GWM ประกอบด้วย
 
Consistency & Diversity: ยกระดับมาตรฐานสากล “อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ” พร้อมย้ำ “ความปลอดภัย” คือหัวใจหลักของแบรนด์

GWM ตอกย้ำความเป็นผู้นำในระดับโลกผ่านกลยุทธ์ “มาตรฐานระดับโลกควบคู่กับการปรับให้เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น” (Global Standards + Local Customization Strategy) โดยมุ่งยกระดับทั้งคุณภาพและความปลอดภัยของรถยนต์ตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง ยืนยันความสำเร็จด้วยคะแนน 5 ดาวจากการทดสอบชั้นนำในหลากหลายเวทีทั่วโลก สะท้อนความมุ่งมั่นในการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลกได้อย่างแท้จริง มอบความปลอดภัยให้กับทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกลยุทธ์ดังกล่าว ในปี 2568 นี้ GWM ได้มีการลงทุนกว่า 500 ล้านหยวน หรือกว่า 2,300 ล้านบาท ในการก่อตั้งศูนย์ทดสอบความปลอดภัยที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ในเมืองเป่าติ้ง ประเทศจีน อีกทั้งยังได้มีการจัดแสดงแบบจำลองของศูนย์ทดสอบความปลอดภัยและห้องปฏิบัติการอุโมงค์ลม ภายในงาน Auto Shanghai 2025 เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นและความทุ่มเทด้านความปลอดภัยของยานยนต์พลังงานใหม่ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

นอกจากด้านมาตรฐานระดับโลกแล้ว GWM ยังเสริมสร้างรากฐานของแบรนด์ให้แข็งแกร่งในทั้ง 3 มิติผ่าน “ตัวตน คุณภาพ และการบริการ” (Character, Quality, and Service) ร่วมกับการยกระดับเอกลักษณ์แบรนด์ในทั้ง 3 ด้าน “ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรม” (Product, Technology, and Culture) ด้วยการพัฒนาและปรับผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด เช่น GWM TANK 300 รุ่น Middle East Edition ที่มาพร้อมเพดานดวงดาวระยิบระยับเสมือนบรรยากาศท้องฟ้าในยามราตรี และ GWM ORA รุ่น Nordic Edition ที่แต่งแต้มบรรยากาศด้วยไฟหลากสีสันราวกับแสงเหนืออันตระการตา รวมถึงการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริงผนวกกับการสร้างการรับรู้และขยายชื่อเสียงของแบรนด์และการยอมรับในระดับนานาชาติได้อย่างแข็งแกร่ง
 
Powerful Powertrains for Globalization: พัฒนานวัตกรรมระบบขับเคลื่อนที่ล้ำหน้าของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะ

ก่อนที่ GWM จะประสบความสำเร็จจนสามารถสร้างชื่อเสียงอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศจีนและระดับโลกในปัจจุบันนั้น GWM ก้าวสู่ความสำเร็จจากการเปิดตัวรถกระบะรุ่น “Deer” ในปี 2538 และเริ่มขยายไปยังตลาดต่างประเทศในปี 2540 หลังจากที่ แจ็ค เว่ย ผู้ก่อตั้ง GWM ได้รับแรงบันดาลใจจากการเติบโตของตลาดรถกระบะหลังจากที่ได้เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย จนนำไปสู่การริเริ่มและพัฒนาธุรกิจ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเครื่องยนต์ที่ล้ำหน้าสำหรับรถกระบะเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศจีน และขึ้นครองตำแหน่งแบรนด์ที่มียอดขายรถกระบะสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันถึง 26 ปีซ้อนในที่สุด ในปี 2545 GWM รุกตลาดรถยนต์เอสยูวีผ่านรุ่น GWM Safe และ GWM HAVAL H6 จนพัฒนาจาก “ผู้นำในตลาดรถยนต์เอสยูวีของจีน” สู่การเป็น “เพื่อนร่วมทางสำหรับบรรดาครอบครัวทั่วทุกมุมโลก” GWM ยังได้มีการขยายแบรนด์ให้ครอบคลุมในหลากหลายทุกเซกเมนต์มากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา เช่น GWM WEY ที่ได้เปิดประตู GWM ให้ก้าวเข้าสู่ตลาดรถยนต์ระดับพรีเมียม GWM ORA กับการเปิดตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ที่เน้นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และ GWM TANK ที่ผงาดขึ้นเป็นรถยนต์พลังงานใหม่ในตลาดออฟโรดระดับโลกที่เต็มไปด้วยคาแรกเตอร์ที่แตกต่าง แข็งแกร่ง และพรีเมียม

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับโลก GWM มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ “การพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี” (Technological Self-Reliance) กับการวิจัยและพัฒนา ผลิต ตลอดจนซ่อมบำรุง และการดูแลอย่างครบวงจรด้วยตนเอง เพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นแบรนด์ระดับโลกอย่างแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น GWM ยังมาพร้อมกับกลยุทธ์ “การพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายในอย่างครอบคลุม” (Broad Internal Combustion) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีการทำงานร่วมกันของเครื่องยนต์ เกียร์ และระบบการขับเคลื่อนแบบไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง นำไปสู่การสร้างระบบขับเคลื่อนไฮบริดสี่ล้ออัจฉริยะหลากหลายรูปแบบ อาทิ Hi4, Hi4 Performance Edition, Hi4-Z, Hi4-T และ Hi4-G ครอบคลุมตั้งแต่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปจนถึงรถบรรทุกเชิงพาณิชย์ ตอบโจทย์การเดินทางและการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้าทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรม
 
An Ecological Community: สร้างระบบนิเวศร่วมกับชุมชนทั่วทุกมุมโลก เพื่อบูรณาการในชุมชนทั่วโลกอย่างยั่งยืน

การพัฒนาและการปรับผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจผู้บริโภคอาจยังไม่เพียงพอ การร่วมมือกับท้องถิ่นจึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะทำให้ GWM สามารถดำเนินและขยายธุรกิจไปสู่ระดับโลกได้อย่างยั่งยืน นำไปสู่แนวคิด “อยู่ในท้องถิ่น เพื่อตลาดท้องถิ่น และบูรณาการกับชุมชนท้องถิ่น” (Being in the Local Market, For the Local Market, and Integrating into the Local Community) ด้วยการดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศ ครอบคลุมทั้งในยุโรป ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา เอเชียแปซิฟิก และแอฟริกา โดย GWM มุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของตลาดแต่ละแห่งด้วยความเข้าใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ในตลาดนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง อีกทั้งยังได้มีการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ร่วมกับซัพพลายเออร์ระดับนานาชาติและพันธมิตรในอุตสาหกรรมไฮเทคชั้นนำกว่า 300 รายทั่วโลก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ GWM นอกจากนี้ ยังมาพร้อมกับกลยุทธ์ “การขยายระบบนิเวศในต่างประเทศ" (Ecosystem Expansion Abroad) ที่ครอบคลุมตั้งแต่ด้านการวิจัยและการพัฒนา การผลิตห่วงโซ่อุปทาน การขาย และการบริการหลังการขายในตลาดต่างประเทศอย่างไร้ขีดจำกัด

ล่าสุด GWM ได้เปิดตัวโลโก้ใหม่ “GWM Beacon” ที่สื่อถึงพันธสัญญาอันแน่วแน่ในการขยายตัวสู่ระดับโลก สอดคล้องกับแนวคิด “One GWM” ที่สะท้อนให้เห็นว่า GWM เป็นแบรนด์ที่มีความเชื่อมโยงทั่วโลก อีกทั้งจะยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งผ่าน “การขยายระบบนิเวศควบคู่การเจาะลึกในตลาดท้องถิ่น” (Ecosystem Expansion + Deep Localization) สู่การส่งมอบยนตรกรรมคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก

จากจุดเริ่มต้นในประเทศจีน GWM พร้อมแล้วที่จะเดินหน้าขยายตัวสู่ตลาดโลกอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อส่งมอบเทคโนโลยีและนวัตกรรมยานยนต์ที่เหนือระดับให้กับผู้บริโภคทั่วโลก พร้อมเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการขับเคลื่อนสุดอัจฉริยะและนวัตกรรมยานยนต์อันล้ำสมัยโดยมีประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินธุรกิจเพื่อผลิตและส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างเต็มภาคภูมิ

3
ตรวจสุขภาพ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

หลอดลมอักเสบ* หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย มักพบหลังเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น และกลุ่มคนที่สูบบุหรี่หรือสัมผัสถูกสิ่งระคายเคือง (ฝุ่น ควัน ) ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

*หลอดลมอักเสบ หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือก (mucous gland) โตขึ้นและหลั่งเมือก (เสมหะ) ออกมามากกว่าปกติ อุดกั้นให้ช่องทางเดินหลอดลมแคบลง ส่งผลให้เกิดอาการไอมีเสมหะ บางครั้งอาจมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย

สาเหตุ

1. จากการติดเชื้อ ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ และติดต่อแบบเดียวกับไข้หวัด

ส่วนน้อยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน (เช่น Mycoplasma pneumoniae‚ Clamydia pneumoniae‚ Streptococcus pneumoniae‚ Hemophilus  influenzae‚ Moraxella catarrhalis) ซึ่งมักพบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือสัมผัสถูกสิ่งระคายเคืองหรือมลพิษเป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรคหวัดภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือมีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง

2. จากการถูกสิ่งระคายเคือง ที่พบบ่อย คือการสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้ขนอ่อน (cilia) ที่เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหว (โบกพัดเพื่อปกป้องผิวหลอดลม) น้อยลง เยื่อบุหลอดลมถูกระคายเคือง ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้น มีเสมหะมากขึ้น เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และฟื้นหายได้หายช้ากว่าปกติ

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากควัน ไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง รวมทั้งเกิดจากการระคายเคืองของน้ำย่อย (ซึ่งเป็นกรด) ในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน

พบได้บ่อยในผู้ที่สูบบุหรี่ หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งระคายเคือง อาจเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย และอาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ


อาการ

ที่สำคัญคือ มีอาการไอบ่อย ระยะแรกจะไอแห้ง ๆ   ใน 2-3 ชั่วโมงถึง 2-3 วัน ต่อมาจะเริ่มมีเสมหะเล็กน้อย เป็นเสมหะใส แล้วต่อมาเสมหะจะมีปริมาณมากขึ้น มีลักษณะเป็นสีขาว

ผู้ป่วยมักมีอาการเป็นไข้หวัด เจ็บคอนำมาก่อนที่จะเกิดอาการไอ บางรายอาจไม่มีอาการเหล่านี้นำมาก่อนก็ได้

ผู้ป่วยอาจไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำ ๆ อยู่นาน 3-5 วัน บางรายอาจมีอาการน้ำมูกไหล เจ็บคอเล็กน้อย ปวดศีรษะเล็กน้อย เสียงแหบ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย หรือรู้สึกหายใจหอบเหนื่อยเล็กน้อยร่วมด้วย

อาการมักจะทุเลาใน 7-10 วัน และหายภายใน 3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจมีอาการไอต่อเนื่อง อาจนานถึง 8-12 สัปดาห์ โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี

ผู้ป่วยมักมีอาการไอมากเวลาล้มตัวลงนอนตอนกลางคืน (จนอาจทำให้นอนไม่พอ) หรือหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือเวลาสัมผัสถูกสิ่งระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ (เช่น ความเย็น ฝุ่น ควัน ลมจากพัดลม/เครื่องปรับอากาศ) ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บคอหรือเจ็บหน้าอกเวลาไอแรง ๆ หรืออาจมีอาการอาเจียนจากการไอ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก)

ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะมีอาการไอมีเสมหะที่มีลักษณะข้นและหนาตัวขึ้น สีเสมหะเปลี่ยนจากขาวเป็นเหลืองหรือเขียว มีไข้สูง อ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ รู้สึกเหนื่อยหอบ หรือหายใจมีเสียงดังวี้ด


ภาวะแทรกซ้อน

ที่สำคัญคือ ปอดอักเสบ ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วย พบได้บ่อยในทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือมีโรคปอดเรื้อรัง (เช่น หืด ถุงลมปอดโป่งพอง) อยู่ก่อน

ในรายที่เป็นซ้ำซาก อาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมปอดโป่งพอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่) และหลอดลมพอง

บางรายอาจมีอาการไอเป็นเลือด


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก

การตรวจร่างกาย ในรายที่อาการไม่รุนแรงมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ

บางรายอาจพบไข้ต่ำ ๆ (ประมาณ 38 องศาเซลเซียส) หรือมีน้ำมูก

การใช้เครื่องฟังตรวจปอด อาจได้ยินเสียงหายใจหยาบ (coarse breath sound) หรือมีเสียงอึ๊ด (rhonchi) หรือเสียงกรอบแกรบ (crepitation) บางรายอาจมีเสียงวี้ด (wheezing)

ในบางกรณี เช่น ต้องการวินิจฉัยให้แน่ชัดเกี่ยวกับหลอดลมอักเสบที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือโรคปอดอักเสบแทรกซ้อน แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ เอกซเรย์ปอด เป็นต้น


การรักษาโดยแพทย์

นอกจากแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยแล้ว แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาระงับการไอ หรือยาขับเสมหะ ยาลดไข้

ถ้าไอมีเสมหะข้นเหนียว ควรหลีกเลี่ยงยาระงับการไอและยาแก้แพ้ อาจทำให้เสมหะเหนียวขับออกยาก หรืออุดกั้นหลอดลมเล็ก ทำให้ปอดบางส่วนแฟบได้

2. ถ้ามีเสียงวี้ดร่วมด้วย ให้ยาขยายหลอดลม (เช่น ยากลุ่มกระตุ้นบีตา 2) สูดหรือกิน

3. ยาปฏิชีวนะไม่มีความจำเป็น เนื่องจากส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักหายได้เอง ยาปฏิชีวนะนอกจากไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสแล้ว ยังอาจเกิดผลข้างเคียงหลายอย่างตามมาได้

แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะสำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น พบว่าเสมหะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นข้นเหลืองหรือเขียว มีไข้สูง และมีอาการอ่อนเพลียหรือปวดเมื่อยตามตัวมาก หรือ ตรวจเลือดหรือเสมหะพบว่าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะที่ใช้ เช่น อะม็อกซีซิลลิน, โคอะม็อกซิคลาฟ, อีริโทรไมซิน, ร็อกซิโทรไมชิน, ดอกซีไซคลีน หรือโคไตรม็อกซาโซล นาน 7-10 วัน

4. ถ้าผู้ป่วยยังมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียวหลังให้ยาปฏิชีวนะ 1 สัปดาห์ หรือยังรู้สึกหอบเหนื่อยหลังให้ยาขยายหลอดลม 3 วัน, สงสัยมีปอดอักเสบแทรกซ้อน (ไข้สูง หายใจหอบ),  มีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์, น้ำหนักลด, ไอออกเป็นเลือด หรือมีอาการกำเริบมากกว่า 3 ครั้งต่อปี แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ บางรายแพทย์อาจใช้กล้องส่องตรวจหลอดลม (bronchoscopy) และให้การรักษาตามสาเหตุ

ถ้าพบว่ามีสาเหตุจากโรคกรดไหลย้อน ก็ให้ยาลดการสร้างกรด และแนะนำการปฏิบัติตัวต่าง ๆ

ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักจะหายได้โดยการรักษาตามอาการ ส่วนน้อยที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ และน้อยรายที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมา


การดูแลตนเอง

1. ถ้ามีอาการไอ มีเสมหะใสหรือเป็นสีขาว โดยยังรู้สึกแข็งแรงดี (กินได้ ทำงานได้) ซึ่งมั่นใจว่าเป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลันที่ไม่รุนแรง ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    พักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอ
    ดื่มน้ำมาก ๆ วันละประมาณ 8-12 แก้ว (2-3 ลิตร) เพื่อช่วยให้เสมหะออกได้ง่ายขึ้น ควรหลีกเลี่ยงน้ำเย็นหรือน้ำใส่น้ำแข็ง
    งดสูบบุหรี่
    หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง ความเย็น น้ำแข็ง ของทอด ของมันๆ ฝุ่น ควัน ลม อากาศเสีย เป็นต้น
    ถ้าไอเล็กน้อยให้จิบน้ำอุ่น ๆ น้ำมะนาว หรือน้ำขิงอุ่นๆบ่อย ๆ ถ้าไอมากจิบน้ำผึ้งผสมมะนาว (ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี) หรือยาแก้ไอมะขามป้อม หรืออมยาอมมะแว้ง (ยกเว้นเด็กเล็ก)
    ถ้ามีไข้ กินยาลดไข้-พาราเซตามอล
    หลีกเลี่ยงการกินยาแก้หวัดแก้แพ้ (เช่น คลอร์เฟนิรามีน) เพราะอาจทำให้เสมหะเหนียวขับออกยาก ทำให้ไอมากขึ้นได้
    ควรปรึกษาแพทย์
    - ถ้ามีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
    - ไอมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว หรือไอเป็นเลือด
    - หายใจหอบ/มีเสียงวี้ด หรือเจ็บหน้าอกมาก
    - อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด
    - ไอมากจนทำให้นอนไม่ได้
    - ดูแลรักษาตนเอง 2 สัปดาห์แล้วอาการไอยังไม่ทุเลา
    - มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง

2. ถ้าสงสัยว่ามีอาการรุนแรง หรือไม่มั่นใจที่ดูแลตนเองตั้งแต่แรก ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ควรดูแลตนเองดังนี้

    กินยาตามและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัด
    ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
    - หายใจหอบ หรือเจ็บหน้าอกมาก
    - ไอเป็นเลือด หรือน้ำหนักลด
    - มีอาการไข้นานเกิน 4 วัน ไอมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว หรือไอนานเกิน 3 สัปดาห์
    - ในกรณีที่แพทย์ให้กินยาปฏิชีวนะ ถ้ากินไป 4 วันแล้วยังไม่ทุเลา หรือทำยาหาย
    - มีอาการที่สงสัยว่าแพ้ยา เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

    หาทางป้องกันไม่ให้เป็นไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ ด้วยการหมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อเข้าไปในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่
    ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
    ไม่สูบบุหรี่
    หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง เช่น ควัน ไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง เป็นต้น
    ในรายที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อน ควรดูแลรักษาโรคนี้ไม่ให้กำเริบบ่อย (ดู "โรคกรดไหลย้อน")

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้มักเป็นหลังจากเป็นไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ มักมีอาการเล็กน้อย และหายได้เองภายใน 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตนเองได้ ด้วยการบรรเทาอาการไอเป็นสำคัญ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย หรือมีอาการไอนานเกิน 3 สัปดาห์ ก็ควรไปพบแพทย์

2. ผู้ป่วยบางรายอาจไอโครก ๆ อยู่นานเป็นสัปดาห์ ๆ ลักษณะไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาว ทั้งนี้เนื่องจากเยื่อบุหลอดลมถูกทำลายจากการอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น (เช่น บุหรี่ ควัน ฝุ่น ลม ความเย็น สิ่งระคายเคืองต่าง ๆ) และมีอาการไอระคายคอทันทีเมื่อสัมผัสถูกสิ่งกระตุ้น

เยื่อบุหลอดลมจะค่อย ๆ ฟื้นตัว กว่าจะแข็งแรงเต็มที่ใช้เวลานานหลายสัปดาห์ ผู้ป่วยมักจะมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี ควรให้การดูแลโดยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ให้ยาแก้ไอบรรเทาเป็นครั้งคราว (ซึ่งไม่ได้ทำให้อาการไอหายเร็ว) แล้วรอเวลาให้หายตามธรรมชาติ ซึ่งแต่ละคนอาจมีระยะเวลาแตกต่างกันไป โดยทั่วไปอาจใช้เวลานาน 7-8 สัปดาห์ บางรายอาจนานถึง 12 สัปดาห์

แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด หอบเหนื่อย ไอออกมาเป็นเลือด ไอรุนแรง หรือมีความวิตกกังวล ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

ในรายที่ตรวจไม่พบสาเหตุอื่น และมีอาการไอรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาไอพราโทรเพียมโบรไมด์ชนิดสูด อาจช่วยให้ทุเลาได้

3. ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยโรคนี้ หากมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ (เช่น ไข้ เจ็บคอ เสียงแหบ น้ำมูกไหล ไอ ท้องเดิน หายใจเหนื่อยหอบ) หรือทำการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจแอนติเจน (ATK) ด้วยตนเองให้ผลเป็นบวก ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

4
การจัดฟันเด็ก เป็นประโยชน์ต่อขากรรไกรของเด็กอย่างไร

ในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟัน สำหรับเด็กนั้น เป็นเรื่องของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องดูแลเอาใจใส่ให้มากเป็นพิเศษ พ่อแม่ควรปลูกฝังให้เด็กรู้จักวิธีการแปรงฟันอย่างถูกต้อง เพื่อให้เด็กมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ พ่อแม่ผู้ปกครองควรที่จะหมั่นสังเกตพฤติกรรมของเด็กด้วย เพราะพฤติกรรมของเด็กนั้น ล้วนแต่ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและฟัน รวมไปถึงขากรรไกรของเด็ก ซึ่งเป็นรากฐานของฟันที่จะขึ้นมาในอนาคต เพราะเด็กบางคนอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับขากรรไกร ซึ่งก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือพฤติกรรมในวัยเด็ก

ซึ่งการจัดฟันในเด็ ก็สามารถแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้ บางกรณีเด็กอาจจะมีฟันสบไขว้ อาจทำให้ขากรรไกรเจริญเติบโตไม่สมดุลกัน และมีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องรีบแก้ไข เพราะการบดเคี้ยวอาหารไม่สะดวก อาจจะส่งผลต่อร่างกายของเด็กได้ สำหรับวันนี้ทางคลินิกเราจะมาพูดถึงเรื่องของการจัดฟันในเด็ก ที่เป็นประโยชน์ต่อขากรรไกรของเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนอจจะยังไม่ทราบว่า การจัดฟันในเด็กนั้น สามารถส่งเสริมให้เด็กมีขากรรไกรที่สมดุลกัน และเป็นประโยชน์ต่อกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ทำให้ใบหน้าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย

เราต้องอธิบายก่อนว่า การจัดฟันในเด็กนั้น เป็นการใช้ประโยชน์จากขากรรไกรของเด็กที่กำลังอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ยังอาจจะสามารถแก้ไขส่วนโค้งของแนวฟันและขากรรไกรที่อยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะสมได้อีกด้วย สำหรับการจัดฟันในเด็ก เป็นการแก้ไขปัญหาฟันให้บุตรหลานของท่านมีฟันที่สวยงาม ส่งเสริมในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟัน และการจัดฟันในเด็ก ยังสามารถแก้ไขได้เมื่อปัญหาฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากทันตแพทย์ตรวจพบปัญหาฟันแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถแก้ไขได้ทันที โดยปัญหาฟันบางอย่างอาจเกิดจากการเจริญเติบโตของขากรรไกรที่ผิดปกติ อุปนิสัยการกิน การกลืน และการใช้ฟันผิดหน้าที่ของเด็ก ทันตแพทย์จะสามารถแก้ไขปัญหาฟัน

ทั้งนี้หากปล่อยให้ปัญหาดังกล่าว ดำเนินต่อไป จนเด็กคนนั้นโตขึ้น การแก้ไขปัญหาจะไม่สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ เหมือนตอนเด็กๆ อาจต้องมีการผ่าตัด หรือแก้ไขปัญหาข้อต่อขากรรไกรที่เสื่อมสภาพลงด้วย ดังนั้น การจัดฟันในเด็ก จึงมีประโยชน์ต่อขากรรไกรของเด็กอย่างมากมายเลยทีเดียว นี่คืออีกหนึ่สาเหตุที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานของท่านเข้ารับการตรวจฟันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจความผิดปกติ เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและตรงจุด เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานๆ อาจจะทำให้ปัญหาลุกลามไปจนถึงขั้นสร้างความเสียหายแก่ฟันบริเวณอื่นๆได้ การแก้ไขปัญหาในเด็ก จะช่วยให้เด็กจะมีการเจริญเติบโตที่เป็นปกติได้ ทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี เสริมสร้างพัฒนาการในเด็กได้อย่างดี

ทำให้เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันมาเป้นอุปสรรค ในทางตรงข้าม ถ้าหากพ่อแม่ผู้ปกครองปล่อยปัญหาฟันของเด็กนานว้ การแก้ไขจะทำได้ยากมากยิ่งขึ้น และอาจจะสร้างความเสียหายต่อร่างกายเด็กได้ โดยเฉพาะขากรรไกร ถ้าหากเด็กมีขากรรไกรล่างที่เล็ก อาจมีผลให้ถอยหลังไปกดปิดการหายใจของเด็กทำให้หายใจไม่สะดวกได้ ส่งผลทำให้เด็กมีมีปัญหาต่อระบบการเติบโตของร่างกาย ลักษณะฟันยื่น ฟันเหยิน ก็ทำให้โดนเพื่อนล้อจนทำให้เสียความมั่นใจได้

หากใครสนใจพาบุตรหลานของท่านเข้ารับการจัดฟันในเด็ก สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่คลินิกเพราะทางเรามีทีมทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดฟันทุกรูปแบบ รวมไปถึงมีประสบการณ์ทางด้านทันตกรรมมาอย่างยาวนาน จึงทำให้มั่นใจได้ว่า บุตรหลานของท่านจะมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง มีโครงสร้างของใบหน้าที่ปกติ ทำให้เด็กมีความมั่นใจ และมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น เพราะทางเราใส่ใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก อยากให้เด็กได้มีฟันที่แข็งแรง เพื่อที่จะได้มีพัฒนาการที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข มีรอยยิ้มที่สดใสสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

5
งานมอเตอร์โชว์: ก้าวใหม่ครั้งสำคัญของ OMODA กับ OMODA 7 ที่นวัตกรรมผสานกับสุนทรียะที่เปิดตัวในช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา

หลังจากที่แบรนด์ OMODA ภายใต้ Chery Automobile บริษัทด้านเทคโนโลยียานยนต์ชั้นนำระดับโลกสัญชาติจีน ได้เปิดตัวรถรุ่น OMODA 5 ไปแล้ว วันนี้ทางแบรนด์ได้เผยโฉมโมเดลใหม่ล่าสุด OMODA 7 ที่ได้หลอมรวมความสวยงามตามสุนทรียะทุกมิติและนวัตกรรมอัจฉริยะเข้าด้วยกัน เพื่อเดินหน้าเข้าสู่ยุคใหม่ของยานยนต์ โดยรถโมเดลใหม่นี้ ทางแบรนด์ OMODA ได้เปิดตัวไปในช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา

 จากภาพตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ารถยนต์รุ่นใหม่นี้มาพร้อมกับดีไซน์ที่มีสุนทรียะและความรู้สึกแห่งอนาคตในทุกมุมมอง ไม่ว่าจะเป็น ด้านหน้าที่โฉบเฉี่ยว ตัวถังที่สวยสง่าตลอดทั้งลำตัว ไปจนถึงไฟหลังที่สะท้อนถึงความงดงามและพลังของเทคโนโลยี คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า OMODA 7 ที่มีดีไซน์ล้ำยุคแบบนี้ จะเข้ามาสร้างความสดใหม่ให้กับวงการรถ SUV อย่างแน่นอน โดย OMODA 7 เป็นรุ่นที่ทางแบรนด์ OMODA ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อมอบประสบการณ์การขับขี่เหนือระดับทั้งในเรื่องของดีไซน์และขนาด ที่หลอมรวมความงามแบบอนาคต เทคโนโลยีและดีไซน์ที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการขับขี่

รถยนต์เอสยูวีจากแบรนด์ OMODA เป็นที่รู้จักกันดีถึงดีไซน์แห่งอนาคต ความอัจฉริยะของระบบที่สนุกสนาน เทคโนโลยีล้ำสมัยที่มาพร้อมกับระบบความปลอดภัยแบบเหนือชั้น ทำให้เป็นรถที่ได้รับความนิยมจากผู้ขับขี่รุ่นใหม่เป็นอย่างมากในตลาดรถยนต์ SUV โดยรุ่น OMODA 5 ที่ออกจำหน่ายทั่วโลกนั้น เป็นรถยนต์ครอสโอเวอร์ C5 ดีไซน์สุดเท่ห์ และเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% ที่นอกจากจะพลิกแนวคิดของผู้ขับขี่ที่มีต่อแบรนด์ OMODA แล้ว ยังเป็นรถยนต์ที่เบิกทางสู่เทรนด์ของการใช้พลังงานสีเขียว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสุนทรียะทางดีไซน์ ที่ถือเป็นไฮไลต์ในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ทั่วโลก ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้รถยนต์รุ่น OMODA E5 มียอดขายที่สูงขึ้น 65% ในเดือนมีนาคม ทำให้ขึ้นแท่นเป็นรถยนต์ SUV ไฟฟ้าที่เติบโตที่สุดในตลาดของปี 2024

 ทั้งนี้ OMODA ได้เปิดตัว OMODA 7 และได้พารถ OMODA E5 ไปโชว์ความสวยงามที่งาน Beijing International Automotive Exhibition 2024 เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาอีก สำหรับ OMODA 7 วางแผนจะเริ่มเปิดตัวทั่วโลกในปี 2025 เพื่อเติมเต็มการขยายฐานผลิตภัณฑ์ของ OMODA ปูทางไปสู่การเป็นแบรนด์รถยนต์ขับเคลื่อนอนาคต และบรรลุมาตรฐานอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ในงานดังกล่าวแบรนด์ OMODA ได้เผยระบบนิเวศใหม่ของแบรนด์ พร้อมกับแผนกลยุทธ์เพื่อสังคมระดับโลกของแบรนด์อีกด้วย

6
ทำไม KYC ถึงสำคัญกับบัตรเครดิตดิจิทัล

การยืนยันตัวตนในโลกดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญนะคะ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมทางเงิน การเปิดบัญชีดิจิทัลไปจนถึงบัตรเครดิตดิจิทัล เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าใครเป็นใคร เป็นมิจฉาชีพหรือเปล่า หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า KYC นะคะ ซึ่งทุกธนาคารจะใช้เทคโนโลยี KYC นี้เข้ามาช่วยในการตรวจสอบและรู้จักลูกค้าอย่างละเอียด ลองไปทำความรู้จัก KYC ให้มากขึ้นค่ะ และอีกคำอย่าง NDID ว่าสำคัญต่อการเปิดบัญชีหรือทำบัตรเครดิตดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน ดูเพิ่มเติม NDID ระบบยืนตัวตนก่อนเปิดบัญชีเงินฝากดิจิทัล

ทำไมต้องทำ KYC
KYC ย่อมาจากคำว่า Know Your Customer หมายถึง "การทำความรู้จักลูกค้า" สถาบันการเงินนำมาใช้ในการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้งาน เพื่อไม่ให้มีการแอบอ้างตัวตน หรือปลอมแปลงทำธุรกรรมทางการเงินแทนบุคคนอื่น

 ถ้าไม่ทํา KYC จะส่งผลอย่างไร?
จะไม่สามารถทำธุรกรรมใด ๆ ได้ เนื่องจากเป็นขั้นตอนเพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ และเป็นมาตรการป้องกันการทุจริตตามกฎหมาย

 KYC มีกี่แบบ

KYC แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

 1. ยืนยันตัวตน KYC แบบ Online (E-KYC)
สามารถดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้เลย แต่ต้องให้ข้อมูลด้านชีวมิติ (Biometric) เช่น ถ่ายรูปใบหน้า หรือสแกนลายนิ้วมือ
2. ยืนยันตัวตน KYC แบบ Face to Face
วิธีนี้ต้องไปแสดงตนกับเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน เพื่อให้ตรวจสอบบัตรประชาชนผ่านเครื่อง Smart Card Reader

 การยืนยันตัวตนผ่าน KYC ในไทย
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้กำหนดให้ KYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งหน่วยงานที่ต้องจัดทำ KYC มีดังนี้

1. ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ธนาคาร
2. ผู้ให้บริการ e-Wallet และ e-Payment
3. บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
4. ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล​​
5. บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย

ต้งบอกระบบว่าการธุรกรรมทางการเงินมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก และ KYC หรือ E-KYC ก็เป็นอีกหนึ่งเกราะป้องกันมิจฉาชีพที่อาจแฝงเข้ามา แต่...ทุกอย่างก็ต้องเริ่มตนที่ตัวเราเองด้วยนะคะ ก่อนจะทำธุรกรรมทางการเงินอะไร ก็ต้องเช็กข้อมูลให้ดี ไม่คลิกหรือโหลดอะไรมั่ว ๆ นะคะ

7
ก่อนติดตั้งฉนวนกันความร้อนโรงงาน ควรเตรียมการอะไรบ้าง

ฉนวนกันความร้อนโรงงาน คือ หนึ่งในวัสดุสำคัญจำเป็นที่ผู้ประกอบการหลาย ๆ คนมองข้ามไป จึงทำให้เกิดปัญหาความร้อนสะสมจนต้นทุนการผลิตสูงสุด และมีปัญหาอื่น ๆ จุกจิกกวนใจเสมอ

ซึ่งหากวันนี้เราตัดสินใจได้แล้วว่าอยากติดฉนวนกันความร้อนเพื่อแก้ปัญหา ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น ก็ควรทราบก่อนด้วยว่า ก่อนติดตั้งฉนวนกันความร้อนโรงงานนั้น ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง ซึ่งมีแนวทางในการเตรียมการหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1.ตรวจสอบพื้นที่ทางผ่านความร้อนให้แน่ชัด

การจะติดตั้งฉนวนกันความร้อนให้ได้ผล ให้โรงงานแก้ไขปัญหาความร้อนสะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องรู้ให้ได้ก่อนว่ามีจุดใดภายในโรงงานบ้าง ที่เป็นทางผ่านให้ความร้อนจากภายนอกเข้ามาได้ เช่น ผนัง หลังคา เป็นต้น

นอกจากนั้นก็ยังต้องตรวจสอบดูอีกว่า จุดใดในโรงงานบ้างที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน เพื่อเข้าไปติดตั้งฉนวนให้ถูกจุด จะได้ควบคุมการแพร่กระจายความร้อนภายในโรงงานให้ดีขึ้น เช่น บริเวณห้องเครื่องจักร บริเวณท่อระบบขนส่งน้ำร้อนน้ำเย็น หรือบริเวณระบบท่อปรับอากาศ เป็นต้น


2.เลือกประเภทฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมมีคุณภาพ

ฉนวนกันความร้อนสำหรับงานหลังคา งานผนัง งานระบบท่อปรับอากาศ งานหุ้มท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นคนละชนิดกัน ถ้าหากเราเลือกใช้ไม่ถูกประเภท ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการกันความร้อน ตลอดจนอายุการใช้งานที่หดสั้นลงได้

ทั้งนี้ นอกจากประเภทของฉนวนกันความร้อนแล้ว ก็จำเป็นต้องเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนที่ได้คุณภาพมาตรฐานด้วย เพื่อมั่นใจได้ว่าจะได้ฉนวนที่ดีจริง เช่น ฉนวนกันความร้อน ที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ได้รับความไว้วางใจ ซึ่งด้วยเพราะมีประเภทของฉนวนคอรบคลุมทุกแบบ จึงทำให้ได้รับความนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย


3.ประเมินสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่ที่ต้องติดฉนวนกันความร้อน

ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะพื้นที่ที่จะต้องติดฉนวนกันความร้อนนั้น จะต้องได้รับการเตรียมการเอาไว้ ให้สามารถติดตั้งฉนวนได้ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเฉนวน โดยหากเราไม่ได้ดูแลจัดเตรียมพื้นที่ให้ดี ให้พร้อมสำหรับการติดตั้งฉนวนไว้ก่อน

นอกจากจะทำให้การติดตั้งเป็นไปอย่างลำบาก ล่าช้าแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวฉนวนกันความร้อนได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของฉนวนโดยตรง


4.เตรียมมาตรการความปลอดภัยในการติดตั้งฉนวนโรงงาน

ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หลังคา ผนังโรงงาน ห้องเครื่องจักร หรือบริเวณท่อระบบปรับอากาศ ท่อน้ำร้อนน้ำเย็น ฯลฯ ทุกพื้นที่ล้วนต้องได้รับการเตรียมการให้ปลอดภัยสำหรับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนทั้งสิ้น เนื่องจากพื้นที่แต่ละจุดนั้นมีขนาดใหญ่ และมีความเสี่ยงในการติดตั้งหลายปัจจัย หากไม่ได้เตรียมมาตรการความปลอดภัยเอาไว้ ก็อาจเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตราย สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้


5.ควรขอคำปรึกษาและดำเนินการติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนโรงงานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการวางแผน และสำรวจหน้างานโดยละเอียด เพื่อให้ประเมินได้ว่า จะต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อนจำนวนเท่าไร ตรงไหนบ้าง จึงจะเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาความร้อนสะสมภายในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการติดตั้งฉนวนอุตสาหกรรม จะช่วยทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และควบคุมงบประมาณ ระยะเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือ หากเกิดปัญหาภายหลัง ก็ยังสามารถให้แก้ไขดูแลให้เรียบร้อยได้

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนโรงงานนั้น จำเป็นจะต้องได้รับการเตรียมการก่อนล่วงหน้า ได้รับคำปรึกษาและวางแผนจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพราะทุกขั้นตอนล้วนสำคัญ และใช้ระยะเวลา ทำให้โรงงานอาจจะต้องปิดพื้นที่ หรือหยุดกระบวนการผลิตบางส่วนได้ ดังนั้น หากไม่รอบคอบ ไม่เตรียมให้พร้อม ก็อาจเสี่ยงเกิดความเสียหาย ล่าช้า และทำให้กระบวนการผลิตหยุดชะงัก จนเกิดความเสียหายในหลาย ๆ มิติต่อธุรกิจได้

8
จัดฟันบางนา: จุดเด่น ! การจัดฟันแบบใส Invisalign

เป็นการจัดฟันอีกรูปแบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และการจัดฟันแบบใส Invisalign ก็มีอยู่หลายประเภท ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาพฟันของผู้เข้ารับการรักษาและดุลยพินิจของทันตแพทย์ด้วยว่าจะทำการรักษาในรูปแบบใด

ให้เหมาะสมกับช่องปากของคนไข้มากที่สุด ซึ่งการจัดฟันแบบใส จะช่วยให้ผู้เข้ารับการรักษามีสุขภาพฟันที่ดีขึ้นด้วย ช่วยทำให้มีฟันที่สวยเป็นธรรมชาติ รวมไปถึงทำให้การใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้นมากๆ เนื่องจากผู้เข้ารับการรักษาจะสวมใส่เครื่องมือโดยที่มองเห็นเครื่องมือได้ยาก ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของการจัดหันแบบใส Invisalign จะช่วยให้ผู้เข้ารับการรักษามีฟันที่สวยงาม และการใช้งานของเครื่องมืออย่างเป็นธรรมชาติที่สุด

สำหรับจุดเด่นของการจัดฟันแบบใส Invisalign นอกจากจะทำให้สามารถมองเห็นเครื่องมือการจัดฟันแบบใสได้ยากแล้ว ยังให้ความรู้สึกที่สบายกว่าเวลาที่ต้องสวมใส่เครื่องมือการจัดฟัน ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองของเนื้อเยื่อภายในช่องปาก อีกทั้งการจัดฟันแบบใส Invisalign ยังสามารถถอดเครื่องมือออกได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่รับประทานอาหาร


ทำให้มีความหลากหลายในการรับประทานอาหารมากขึ้น ซึ่งไม่ต้องกังวลว่าเครื่องมือจะหลุดออกขณะรับประทานอาหาร อย่างไรก็ตาม หากรับประทานอาหารที่แข็ง ก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพฟันได้เช่นกัน รวมไปถึงช่วงเวลาของการทำความสะอาด ผู้ที่เข้ารับการจัดฟันแบบใส Invisalign ก็ต้องถอดเครื่องมือออกขณะที่แปรงฟัน และยังสามารถใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยได้

ซึ่งการที่สามารถถอดเครื่องมือการจัดฟันได้นี่เอง จะช่วยส่งผลให้ผู้เข้ารับการจัดฟันแบบใส มีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี ไม่ก่อให้เกิดฟันผุ หรือโรคเหงือกอักเสบตามมาภายหลัง การจัดฟันแบบใส จะช่วยสร้างรอยยิ้มที่มั่นใจของผู้เช้ารับการรักษา โดยปราศจากเหล็กจัดฟันที่อยู่ในปากเหใือนกับการจัดฟันแบบทั่วไป ซึ่งการจัดฟันแบบใส Invisalign ยังมีจุดเด่นอีกหลายข้อ

แต่หากคุณสนใจที่เช้ารับการจัดฟันแบบใส Invisalign สามารถเข้ามาปรึกษาและขอรับคำแนะนำจากทางคลีนิค เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้คุณได้ทราบถึงรายละเอียดในการจัดฟันแบบใส เพื่อประกอบการตัดสินใจ

9
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเสียงดัง
ในโรงงานอุตสาหกรรม
โรงงานหรือสถานประกอบกิจการที่มีปัญหาด้านเสียงเกินค่ามาตรฐาน อาจสร้างผลกระทบทั้งด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานต่อพนักงานในโรงงานเอง หรืออาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงต่อชุมชนและสภาพแวดล้อมที่อยู่ด้านนอกโรงงาน หากเจ้าของแหล่งกำเนิดเสียงหรือผู้เกี่ยวข้องปล่อยปละละเลย ไม่จัดทำโครงการควบคุมเสียงหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่สำเร็จ จะทำให้มีผลกระทบตามมา เช่น
•   เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายด้านเสียง มีทั้งโทษปรับและจำคุก
•   ลูกจ้างอาจเกิดภาวะสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราวหรือแบบถาวร
•   ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานลดลงจากเสียงเกินค่ามาตรฐาน
•   ถูกร้องเรียนจากชุมชนหรือผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงที่อยู่นอกโรงงาน
•   โรงงานหรือสถานประกอบกิจการอาจถูกสั่งปิดปรับปรุง จนกว่าจะแก้ไขแล้วเสร็จ

ทำไมต้องใช้บริการจาก
“NEWTECH INSULATION” ในการควบคุมเสียง?
ด้วยประสบการณ์กว่า 15 ปี ในการควบคุมเสียงอุตสาหกรรม เรามีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรเฉพาะทางที่มีความรู้ด้านเสียงและความสั่นสะเทือน เครื่องมืออันทันสมัยที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงประสบการณ์ด้านการแก้ไขปัญหาเสียงอุตสาหกรรมที่มีทั้งในและต่างประเทศ ผู้ใช้บริการจึงมั่นใจได้ว่าปัญหาด้านเสียงในโรงงานหรือสถานประกอบกิจการจะได้รับการแก้ไขได้อย่างตรงจุด ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมเสียงในอุตสาหกรรม
– บริษัทฯ ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลผู้ให้บริการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับเสียง โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
– บุคลากรของบริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุมมลพิษเสียงและความสั่นสะเทือน จากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– มีทีมงานที่มากประสบการณ์และความรู้ ได้แก่ วิศวกร นักสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ช่างเทคนิค รวมไปถึงช่างประกอบและติดตั้งระบบควบคุมเสียง
– มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐานไว้ให้บริการทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
– มีสินค้าสำหรับควบคุมเสียงและความสั่นสะเทือนให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เช่น ผนังกันเสียง ห้องเก็บเสียง ม่านกันเสียง ตู้ครอบลดเสียง แจ็คเก็ตลดเสียง ไซเลนเซอร์ อคูสติคลูเวอร์ อุปกรณ์แยกความสั่นสะเทือน เป็นต้น
– มีการประเมินหรือทำตัวแบบจำลองระดับเสียง ก่อน-หลัง ปรับปรุงให้ลูกค้าใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการแก้ปัญหาด้านเสียง
– รับประกันระดับเสียงที่ลดลง อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
– รับประกันคุณภาพสินค้าและฝีมือการติดตั้งทุกงาน

บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด
ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมเสียงในโรงงานอุตสาหกรรม
จากประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาด้านเสียงมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเสียงทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และเสียงทางสิ่งแวดล้อม
ทางบริษัทฯ ยินดีให้คำแนะนำที่ทำได้จริงสำหรับการแก้ปัญหาด้านมลภาวะทางเสียงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทั้งโรงงาน พนักงาน หรือชุมชนโดยรอบอยู่ร่วมกันได้
“เพราะเรา…เข้าใจเรื่องเสียง”


สนใจสั่งซื้อ
เบอร์โทร:  02-583-8035 , 02-583-8034, 098-995-4650
E-mail: contact@newtechinsulation.com
Line ID: @newtechinsulation
Facebook: newtechthai
Instagram: newtechinsulation
เว็บไซด์: https://www.noisecontrol365.com/


10
ปล่อยรถไมล์น้อย BMW X4M Competition ฟรีประกัยภัยชั้น 1

บีเอ็มดับเบิลยู BMW X4 M Competition ปี 2022
BMW X4 M Competition รถยนต์ Sports Activity Coupe (SAC) ที่เติมพลังให้เหนือกว่า X4 M รุ่นเดิมด้วยชุดแต่ง Competition เสริมให้เครื่องยนต์เบนซิน 6 สูบ M TwinPower Turbo ขนาด 2,993 ซีซี มอบความแรงได้ถึง 375 กิโลวัตต์ / 510 แรงม้า ขณะที่การเร่งจาก 0 ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ทำได้ในเวลาเพียง 4.0 วินาทีเท่านั้น

หมายเหตุ : รายละเอียดของรถยนตอ์าจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง

รถผู้บริหาร รถทดลองขับ ไมล์น้อย ราคาและโปรโมชั่นพิเศษ

โปรโมชั่นพิเศษ
ตั้งแต่ 25 มี.ค. - 31 มี.ค. 2568
BSI 5 ปี / 100,000 KM
ฟรีประกัยภัยชั้น 1 ระยะเวลา 3 ปี

ราคาพิเศษ 6,559,000 บาท

สนใจสอบถามรายละเอียดกดลิ้ง https://www.checkraka.com/flashdeal/car

ข้อมูลทั่วไป

เครื่องยนต์                     M TwinPower Turbo แบบ 6 สูบเรียง
ขนาดเครื่องยนต์ (CC)       2,993 CC
กำลังเครื่องยนต์ (แรงม้า)    510 แรงม้า
ระบบเกียร์                      เกียร์ออโต้ 8AT
รูปแบบเกียร์                    พร้อมระบบ Drivelogic
ระบบเบรค ABS             มี (พร้อมระบบควบคุมการเบรกขณะเข้าโค้ง (CBC) และระบบช่วยเพิ่มแรงเบรกอัตโนมัติ)
ประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง     เบนซิน 95
ความจุถังน้ำมัน (ลิตร)     N/A
ระบบจ่ายน้ำมัน              Direct injection
น้ำหนักตัวรถ                 -
ประเภทยางรถยนต์          -
ขนาดล้อ (นิ้ว)
ระบบขับเคลื่อน            ขับเคลื่อนสี่ล้อ (M xDrive)


11
สารอาหารที่ให้อาหารสายยาง ทางหลอดเลือดดำ

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า การให้อาหารทางสายยาง ซึ่งการให้อาหารทางสายยางนั้น เป็นการให้อาหารแก่ผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ อันเนื่องมาจากภาวการณ์เจ็บป่วยบริเวณลำคอ รวมไปถึงผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณทางเดินอาหาร และไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ การให้อาหารทางสายยางหลายคนคงเคยเห็นแต่การให้อาหารทางสายยางผ่านทางรูจมูกหรือบริเวณหน้าท้อง ซึ่งนอกจากนี้ยังมีการให้อาหารทางสายยางอีกรูปแบบหนึ่งนั่นก็คือ การให้อาหารทางสายยางทางหลอดเลือดดำ โดยจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้การระบบย่อยอาหารได้ตามปกติ โดยประเภทของการให้โภชนาการบำบัดขึ้นอยู่กับสภาพอาการและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน


สำหรับการให้อาหารทางหลอดเลือดดำนั้น จะใช้วิธีการให้การอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังโดยใช้เข็มหรือใช้สายสวนสอดเขาใต้ผิวหนัง พยายามให้ปลายสายสอดไปอยู่ในหลอดเลือดดำใหญ่ให้บริเวณใกล้ๆกับขั้วหัวใจเป็นวิธีที่แพทย์ในปัจจุบันใช้อยู่ เพราะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ควรรับอาหารทางปากหรือทางกระเพาะลำไส้เลย ซึ่งได้แก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามีการอุดตันเกิดขึ้นในทางเดินอาหาร หรือเป็นเพราะว่าผลข้างเคียงจากการผ่าตัด หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น แพทย์จึงให้งดอาหารทางปากเป็นการชั่วคราวระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องงดอาหารหรือไม่ได้รับสารอาหาร ก็ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้อาหาทางหลอดเลือดแทนนั่นเอง

สำหรับวันนี้ทางอาหารปั่นผสม เราจะมาพูดถึงสารอาหารที่ให้ทางสายยาง สำหรับผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางหลอดเลือดดำ ในเรื่องของสารอาหารนั้นส่วนใหญ่ก็จะใช้เป็นสารอาหารหลักๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน ไขมัน ส่วนอาหารรองนั้นจะได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ อิเล็คโทรไลต์ สำหรับสารอาหารที่กล่าวมานั้น ก็จะขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของผู้ป่วยต้องการสารอาหารชนิดใดเพื่อนำไปซ่อมแซมร่างกายในส่วนที่สึกหรอ และเพื่อทำให้ให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายด้วย อย่างไรก็ตาม การให้อาหารทางสายยาง ผ่านหลอดเลือดดำนั้น สามารถนำไปให้ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ แต่ต้องมีการแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน นอกจากนี้ ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเกิดปัญหาอาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายได้ และเป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆที่จะตามมาด้วย

อย่างไรก็ตาม การให้อาหารทางสายยาง ผ่านหลอดเลือดดำก็มีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยแก้ไขภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเลคโทรไลต์ที่สูญเสียไปอย่างรวดเร็ว เช่น อุจจาระร่วง บาดแผลจากการเกิดไฟไหม้ การสูญเสียเลือดมากเป็นต้น และยังช่วยดูแลป้องกันภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็คโทรไลต์ เช่น ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารทางปากก่อนหรือหลังการผ่าตัด หรือ หรือผู้ป่วยอาจจะมีภาวะเบื่ออาหาร รับประทานอาหารไม่ได้ มีอาการคลื่นไส้ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ การให้อาหารทางสายยางผ่านหลอดเลือดดำนั้น ยังช่วยให้ยาบางชนิดที่ไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ระบบทางเดินของอาหารได้ สามารถดูดซึมได้ดีมากขึ้น หรือบางกรณีการรับประทานอาหารทางปากแล้วเกิดการถูกทำลาย โดยน้ำย่อยจากกระเพราะอาหาร ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับสารอาหารได้ตามปกติ และที่สำคัญที่สุดก็คือ เพื่อช่วยรักษาภาวะสมดุลของความเป็นกรด – ด่างในร่างกายของเราให้เป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการให้อาหารทางสายยาง โดยผ่านหลอดเลือดดำ จะเป็นวิธีการหนึ่งของการรักษาทางการแพทย์ แต่ก็ยังต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะการให้อาหารทางสายยางผ่านหลอดเลือดดำ อาจจะเกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และกระทำโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างปลอดภัยและถูกต้องมากที่สุด ทางอาหารปั่นผสม อยากให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เพื่อที่จะได้มีโภชนาการอาหารที่ดี ได้รับสารอาหารด้วยวิธีการปกติ หลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอันตรายจากการได้รับสารอาหารทางสายยาง เพื่อให้ทุกคนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

12
โปรโมทสินค้าฟรี / หมอออนไลน์: แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer)
« เมื่อ: วันที่ 7 พฤษภาคม 2025, 15:13:34 น. »
หมอออนไลน์: แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer)

แผลเพ็ปติก* หมายถึง แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (stomach) ซึ่งเรียกว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร หรือแผลจียู (gastric ulcer/GU) หรือแผลที่เยื่อบุลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ซึ่งเรียกว่า โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น หรือแผลดียู (duodenal ulcer/DU)

แผลเพ็ปติกเป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ10-20 ของคนทั่วไปจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต

แผลลำไส้เล็กส่วนต้น (ดียู) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-4 เท่า และพบมากในช่วงอายุประมาณ 30-55 ปี ขณะที่แผลกระเพาะอาหารพบในผู้ชายพอ ๆ กับผู้หญิง และพบในช่วงอายุประมาณ 55-70 ปี แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย

*เดิมนิยมเรียกว่า โรคกระเพาะ โดยวินิจฉัยจากอาการแสดง คือ ปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังอาหาร (หิวแสบ-อิ่มจุก) เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันพบว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่จำเพาะว่าเกิดจากแผลเพ็ปติกเสมอไป ต้องอาศัยการตรวจโดยการใช้กล้องส่อง หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม จึงจะแยกสาเหตุได้ชัดเจน ดังนั้น คำว่า "โรคกระเพาะ" จึงมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "อาหารไม่ย่อย" ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า "แผลเพ็ปติก" ในการเรียกชื่อโรคแผลกระเพาะอาหาร และแผลลำไส้เล็กส่วนต้น

สาเหตุ

แผลเพ็ปติก เกิดจากความเสียสมดุลระหว่างปริมาณกรดที่หลั่งในกระเพาะอาหาร กับความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้  ถ้าหากมีการหลั่งกรดมากเกิน หรือความต้านทานต่อกรดลดลงก็ทำให้เกิดแผลเพ็ปติกขึ้นได้ ในปัจจุบันพบว่าสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลเพ็ปติกได้แก่

1. การติดเชื้อเอชไพโลโร (H.pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ เชื้อนี้สามารถติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะอาหาร ในระยะแรกอาจทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งจะเป็นเรื้อรังนานเป็นแรมปีหรือนับเป็นสิบ ๆ ปี ต่อมาทำให้กลายเป็นแผลลำไส้เล็กส่วนต้น (พบเชื้อนี้ในผู้ที่เป็นแผลชนิดนี้ถึงร้อยละ 95-100) หรือแผลกระเพาะอาหาร (พบเชื้อนี้ในผู้ที่เป็นแผลชนิดนี้ถึงร้อยละ 75-85)

ในการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยแผลเพ็ปติกด้วยการใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะลำไส้ พบว่า การรักษาโรคแผลเพ็ปติกโดยวิธีดั้งเดิม (ให้ยาลดกรดและยาลดการสร้างกรด) นั้น ผู้ป่วยจะมีแผลกำเริบถึงร้อยละ 70-85 ใน 1 ปี แต่ในกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะกำจัดเชื้อเอชไพโลไรตามวิธีการรักษาแนวใหม่จะมีแผลกำเริบน้อยกว่าร้อยละ 5 ใน 1 ปี ดังนั้น ในวงการแพทย์ปัจจุบันจึงยอมรับว่า เชื้อนี้เป็นตัวการสำคัญของโรคแผลเพ็ปติกถึงแม้จะยังไม่มีความชัดเจนในกลไกของการทำให้เกิดแผลเพ็ปติกจากเชื้อนี้ก็ตาม บ้างสันนิษฐานว่าเชื้อชนิดนี้ทำให้กลไกในการต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารลดลง

2. การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ได้แก่ แอสไพริน และกลุ่มยาแก้ปวดข้อ (เช่น อินโดเมทาซิน ไอบูโพรเฟน นาโพรเซน เป็นต้น) พบว่าผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้เป็นประจำจะมีโอกาสเป็นแผลกระเพาะอาหารร้อยละ 10-30 และแผลลำไส้เล็กส่วนต้นร้อยละ 2-20 และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน (เช่น เลือดออก แผลทะลุ) มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยากลุ่มนี้ถึง 3 เท่า ประมาณร้อยละ 1-2 ของผู้ใช้ยากลุ่มนี้เป็นประจำจะเกิดภาวะแทรกซ้อนภายใน 1 ปี ทั้งนี้เพราะยากลุ่มนี้ทำลายกลไกในการต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ (โดยการยับยั้งไม่ให้กระเพาะหลั่งเมือกออกมาปกคลุมเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้) นอกจากนี้ ยากลุ่มนี้บางตัวยังมีฤทธิ์เป็นกรดซึ่งระคายต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้โดยตรง

กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลเพ็ปติกจากยากลุ่มนี้ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ในขนาดสูง ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้นาน ๆ ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับสเตียรอยด์ ผู้ที่มีประวัติเป็นแผลเพ็ปติกมาก่อน ผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยรุนแรง

3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ บางอย่างอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ แต่บางอย่างอาจไม่มีความสัมพันธ์โดยตรง เช่น

    ประวัติการมีญาติพี่น้องเป็นแผลเพ็ปติก (อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์) ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้นเป็น 3 เท่า
    การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสของการเป็นแผลลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้การรักษาได้ผลช้า และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น
    ผู้ที่มีเลือดกลุ่มโออาจเสี่ยงต่อการเป็นแผลลำไส้เล็กส่วนต้นมากกว่าปกติ
    ความเครียดทางอารมณ์ ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าเป็นสาเหตุของการเกิดแผลเพ็ปติกโดยตรงแต่พบว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เป็นแผลกำเริบได้
    แผลลำไส้เล็กส่วนต้น ยังอาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperparathyroidism ซึ่งจะมีภาวะแคลเซียมสูง และแคลเซียมกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมาก) กลุ่มอาการซอลลิงเกอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison syndrome ซึ่งเป็นเนื้องอกในตับอ่อนและลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้มีการหลั่งกรดและน้ำย่อยมากเกิน) ภาวะไตวายเรื้อรัง ตับแข็งจากพิษแอลกอฮอล์ ถุงลมปอดโป่งพอง เป็นต้น
    แอลกอฮอล์ (ซึ่งเป็นสาเหตุของกระเพาะอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน ทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร) สเตียรอยด์ และกาเฟอีน ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นสาเหตุของแผลเพ็ปติกโดยตรง แต่ก็อาจทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เป็นแผลกำเริบได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้ในผู้ป่วยแผลเพ็ปติก
    อาหารทุกชนิดไม่เป็นสาเหตุโดยตรงของการเกิดแผลเพ็ปติก แต่ถ้ากินแล้วทำให้มีอาการกำเริบ (เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้ำส้ม น้ำผลไม้) ก็ควรจะหลีกเลี่ยง

อาการ

มักมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังตรงบริเวณกลางยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ บางรายอาจค่อนมาทางขวาหรือซ้ายก็ได้ เวลาที่ปวดมักสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ก่อนหรือหลังอาหาร ลักษณะการปวดอาจปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียด หรือมีความรู้สึกหิวข้าวก่อนเวลาอาหาร บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือเรอเปรี้ยวร่วมด้วย

ในผู้ป่วยที่มีแผลลำไส้เล็กส่วนต้น มักมีอาการปวดท้องหลังกินอาหารแล้วประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง โดยมากจะเริ่มปวดตอนสาย ๆ ในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ จะปวดมากขึ้น และอาจปวดมากตอนดึก ๆ จนต้องตื่นนอนหรือนอนไม่หลับ

อาการปวดมักดีขึ้นทันทีหลังกินอาหาร ดื่มนม หรือกินยาต้านกรด หรือหลังอาเจียน ถ้าแผลลุกลามไปที่ตับอ่อนอาจทำให้มีอาการปวดหลังร่วมด้วย และไม่หายปวดท้องหลังกินอาหาร

ในผู้ป่วยที่มีแผลกระเพาะอาหาร มักมีอาการปวดท้องหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง บางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร (ไม่อยากกิน เพราะกลัวปวดท้อง) และน้ำหนักลด

อาการปวดท้องมักเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์ แล้วอาจหายไปได้เอง แต่ก็มักมีอาการกำเริบภายใน 1-2 ปีเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ลักษณะอาการของผู้ป่วยแผลลำไส้เล็กส่วนต้นกับแผลกระเพาะอาหาร  บางครั้งก็อาจแยกจากกันได้ไม่ชัดเจน เช่น อาการปวดท้องตอนดึกก็อาจเกิดในผู้ป่วยแผลกระเพาะอาหารได้เช่นกัน

ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นแผลเพ็ปติกโดยไม่มีอาการแสดงก็ได้ เช่น พบว่ากลุ่มที่เป็นแผลจากยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์มีประมาณร้อยละ 50 ที่ไม่ปรากฏอาการหรือผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน (เช่น ถ่ายดำ) ก็อาจไม่มีอาการปวดท้องมาก่อนก็ได้


ภาวะแทรกซ้อน

ถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ที่พบบ่อยคือ ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระดำ ส่วนมากเลือดจะออกไม่มากและหยุดได้เอง ส่วนน้อยอาจมีเลือดออกมากจนบางครั้งเกิดภาวะช็อก ถ้าเลือดออกเรื้อรังก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กได้

บางรายแผลอาจกินลึกจนเป็นรูทะลุ เรียกว่า แผลเพ็ปติกทะลุ ซึ่งอาจทำให้มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบร่วมด้วยได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง และหน้าท้องแข็ง ควรได้รับการผ่าตัดแก้ไขโดยด่วน

บางรายอาจมีภาวะกระเพาะหรือลำไส้อุดกั้น มีอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียนรุนแรง และท้องผูก

ในรายที่แผลกินลึกไปถึงตับอ่อนอาจทำให้มีอาการปวดหลัง หรือมีอาการของตับอ่อนอักเสบร่วมด้วย

ผู้ที่เป็นแผลกระเพาะอาหารเรื้อรังจากเชื้อเอชไพโลไรก็อาจมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยขั้นต้นจากอาการ ส่วนการตรวจร่างกายมักไม่พบสิ่งผิดปกติ บางรายอาจรู้สึกกดเจ็บเล็กน้อยตรงบริเวณลิ้นปี่

ในรายที่มีเลือดออก (เช่น ถ่ายดำ) อาจตรวจพบอาการซีด

เนื่องจากไม่สามารถวินิจฉัยจากอาการแสดง แพทย์จำเป็นต้องวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะลำไส้ หรือเอกซเรย์กระเพาะลำไส้โดยการกลืนแป้งแบเรียม บางรายแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม (เช่น การตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจหาเชื้อเอชไพโลไร เป็นต้น)

การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษาดังนี้ 

1. ถ้ามีอาการปวดกระเพาะครั้งแรกในคนอายุต่ำกว่า 40 ปี และสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี ไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งยังบอกไม่ได้ว่าเป็นโรคแผลเพ็ปติกหรือไม่ แพทย์จะให้การรักษาเบื้องต้นแบบโรคกระเพาะหรืออาหารไม่ย่อย โดยแนะนำการปฏิบัติตัว และให้ยาลดการสร้างกรดกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊มป์ (เช่น โอเมพราโซล, แพนโทพราโซล, แลนโซพราโซล, ราบีพราโซล เป็นต้น)

ถ้ารู้สึกทุเลาหลังกินยาได้ 2-3 ครั้ง ควรกินต่อจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้ารู้สึกหายดีควรกินยานานประมาณ 8 สัปดาห์

ถ้ากินยา 2-3 ครั้งแล้วยังไม่รู้สึกทุเลาแม้แต่น้อย หรือทุเลาแล้วแต่กินจนครบ 2 สัปดาห์แล้วรู้สึกไม่หายดี หรือกำเริบซ้ำหลังจากหยุดกินยาจนครบ 8 สัปดาห์แล้ว หรือ มีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลด ซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต คลำได้ก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง หรือสงสัยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือนิ่วน้ำดี หรือพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและความรุนแรงของโรคแผลเพ็ปติก และโรคอื่นๆที่อาจมีอาการคล้ายแผลเพ็ปติก นอกจากการใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะลำไส้แล้ว อาจทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ ตามโรคที่สงสัย(เช่น ตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ คลื่นหัวใจ เป็นต้น)

2. เมื่อตรวจพิเศษแล้วพบว่าเป็นแผลเพ็ปติก แพทย์มีแนวทางการรักษา ดังนี้

2.1 แผลเพ็ปติกที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไพโลไร (จำเป็นต้องอาศัยการใช้กล้องส่อง และตรวจพบเชื้อเอชไพโลไร) การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง รักษาแผลให้หายและกำจัดเชื้อเอชไพโลไรโดยให้ยาดังนี้

    ยาลดการสร้างกรดกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊มป์ นาน 6-8 สัปดาห์ ร่วมกับ
    ยาปฏิชีวนะ 2-4 ชนิดร่วมกัน นาน 10-14 วัน เช่น เมโทรไนดาโซล คลาริโทรไมซิน (clarithromycin) อะม็อกซีซิลลิน เตตราไซคลีน บิสมัทซับซาลิไซเลต (bismuth subsalicylate)

2.2 แผลเพ็ปติกที่ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไพโลไร เป็นแผลเพ็ปติกที่ตรวจไม่พบการอักเสบจากเชื้อเอชไพโลไร อาจมีสาเหตุจากการใช้ยาแอสไพริน หรือกลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ให้การรักษาด้วยยาลดการสร้างกรดกลุ่มโปรตอนปั๊มป์ นาน 4 สัปดาห์ (สำหรับแผลลำไส้เล็กส่วนต้นที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน) หรือนาน 6-8 สัปดาห์ (สำหรับแผลกระเพาะอาหาร หรือแผลเพ็ปติกที่มีภาวะแทรกซ้อน)

2.3 ในรายที่เป็นแผลเพ็ปติกเรื้อรังหรือเคยมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น หรือผู้สูงอายุ หรือในรายที่ยังสูบบุหรี่ อาจจำเป็นต้องกินยาลดการสร้างกรดนาน 3-6 เดือนหรือเป็นปี และอาจต้องใช้กล้องส่องตรวจและตรวจชิ้นเนื้อซ้ำจนกว่าแผลจะหายดี

ถ้าแผลเรื้อรังไม่ยอมหาย  อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

3. ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ หน้ามืด เป็นลม ช็อก หรือมีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดท้องติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมง อาเจียนรุนแรง หรือมีอาการท้องเกร็งแข็ง แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้การรักษาตามภาวะที่พบ เช่น

ถ้าเสียเลือดมากอาจต้องให้เลือด แล้วทำการตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

ถ้าตรวจพบว่ามีภาวะแผลเพ็ปติกทะลุ หรือกระเพาะหรือลำไส้ตีบตัน จำเป็นต้องผ่าตัดด่วน


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการปวดแสบหรือจุกแน่นตรงใต้ลิ้นปี่ ก่อนหรือหลังอาหารนานเกิน 1 สัปดาห์  มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย หรือมีประวัติเคยตรวจพบว่าเป็นโรคแผลเพ็ปติกมาก่อน หรือกินแอสไพริน หรือยาแก้ปวดข้อเป็นประจำ หรือพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี ควรปรึกษาแพทย์ 

เมื่อตรวจพบว่าเป็นแผลเพ็ปติก ควรดูแลตนเอง ดังนี้

1. กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

2. ติดตามการรักษากับแพทย์ตามนัด

3. ปฏิบัติตัว ดังนี้

    กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ อย่าปล่อยให้หิว
    งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มกาเฟอีน น้ำอัดลม
    หลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์
    อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้ำส้ม น้ำผลไม้ ถ้ากินแล้วมีอาการปวดท้องกำเริบ ควรงดจนกว่าจะหายดี
    ออกกำลังกายเป็นประจำ และหาวิธีผ่อนคลายความเครียด (ถ้าเครียด)

4. ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดท้องมาก อาเจียน อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ ซีด ตาเหลือง คลำได้ก้อนในท้อง กินยารักษา 1 สัปดาห์แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดสังเกตที่สงสัยว่าเกิดจากผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ (เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปากแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินหรือท้องผูก เป็นต้น)


การป้องกัน

ผู้ป่วยที่กินยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลเพ็ปติก (เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องใช้ยานี้ในขนาดสูงหรือนาน ๆ หรือใช้ร่วมกับยาสเตียรอยด์ ผู้ที่เคยเป็นแผลเพ็ปติกมาก่อน เป็นต้น) แพทย์จะให้กินยาลดการสร้างกรดป้องกันควบคู่ด้วย

ข้อแนะนำ

1. ผู้ป่วยควรกินยาอย่างต่อเนื่องและพบแพทย์ตามนัด การกินยาไม่ต่อเนื่องอาจทำให้กลายเป็นแผลเรื้อรังและรักษายากหรือมีภาวะแทรกซ้อนได้

2. เนื่องจากโรคแผลเพ็ปติกอาจมีอาการคล้ายอาหารไม่ย่อย (dyspepsia) ซึ่งมีสาเหตุได้หลากหลาย การวินิจฉัยโรคนี้ที่แน่ชัดจำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษ (เช่น ส่องกล้องหรือเอกซเรย์กระเพาะลำไส้)

3. มะเร็งกระเพาะอาหารระยะแรก (ซึ่งพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีมากกว่าวัยที่ต่ำกว่า 40 ปี) อาจมีอาการคล้ายอาหารไม่ย่อย (dyspepsia หรือ "โรคกระเพาะ") หรือแผลเพ็ปติก และอาการสามารถทุเลาด้วยยาต้านกรดและยาลดการสร้างกรด แต่ต่อมาเมื่อแผลมะเร็งลุกลามมากขึ้น การใช้ยาจะไม่ได้ผล และจะมีอาการน้ำหนักลด อาเจียน หรือถ่ายดำตามมาได้ ดังนั้น หากรักษา "โรคกระเพาะ" โดยวินิจฉัยจากอาการแสดง 2 สัปดาห์แล้วไม่ดีขึ้น มีอาการกำเริบบ่อย หรือพบในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติเคยรักษาโรคแผลเพ็ปติกมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ให้ทำการตรวจพิเศษ (เช่น ส่องกล้องหรือเอกซเรย์กระเพาะลำไส้) เพื่อแยกแยะสาเหตุให้แน่ชัด หากพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารจะได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ซึ่งได้ผลดีกว่าพบในระยะลุกลามแล้ว

13
คอนโดติดรถไฟฟ้า เคฟ ป๊อป ศาลายา (Kave Pop Salaya)
เริ่มต้น 1.89 ลบ.

เคฟ ป๊อป ศาลายา (Kave Pop Salaya)
คอนโด Low-Rise สูง 7 ชั้น 1 อาคาร + คลับเฮาส์ สูง 2 ชั้น 1 อาคาร ตั้งอยู่บนพื้นที่โครงการ 2-1-66.4 ไร่ ใกล้ม.มหิดล พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

 รายละเอียดโครงการ
 ชื่อโครงการ            เคฟ ป๊อป ศาลายา (Kave Pop Salaya)
 เจ้าของโครงการ       แอสเซทไวส์
 แบรนด์ย่อย             เคฟ
 ราคา                    เริ่มต้น 1.89 ลบ.

 ราคาเฉลี่ยต่อตร.ม.     โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ลักษณะทำเล            คอนโดใกล้ขนส่งสาธารณะ
 ความสูงคอนโด          Low Rise (ไม่เกิน 8 ชั้น)
 ลักษณะกรรมสิทธิ์       โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ
 ประเภทห้องที่มี         1 ห้องนอน
 ขนาดห้องที่มี            ตั้งแต่ 23.10 ถึง 35.40 ตร.ม.
 เนื้อที่ทั้งหมด            2 ไร่ 1 งาน 66 ตร.ว.
 จำนวนตึก                1 อาคาร + Clubhouse 1 อาคาร
 จำนวนชั้น               7 ชั้น + Clubhouse 2 ชั้น
 จำนวนห้อง              237 ยูนิต
 ที่จอดรถทั้งหมด       73 คัน (คิดเป็น 35% รวมจอดซ้อนคัน)
 ค่าบำรุงส่วนกลาง      โปรดสอบถามข้อมูลกับทางโครงการ

 สาธารณูปโภค
สระว่ายน้ำ, ฟิตเนส, รปภ., กล้องวงจรปิดโครงการ, ประตู Key Card, อื่นๆ (POP LOUNGE, CIRCLE LOUNGE, WALKWAY, LAUNDRY CAFE, SEATING AREA DUAL POOL DECK, OUTDOOR SHOWER, CO-KITCHEN, HEALTH STATION, E-SPORT ROOM, MUSIC STUDIO, POP ROOF BAR, BBQ STATION), Co-Working Space, Sky Garden

 สถานที่ใกล้เคียง
 โซน           นครปฐม, พุทธมณฑล, นครชัยศรี, สามพราน
 ที่ตั้ง           87 เลขที่ 66 ตำบล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล นครปฐม 73170

 ขนส่งสาธารณะ
รถไฟฟ้า:     ใกล้รถไฟฟ้า, รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน, สถานี(มักกะสัน - ศาลายา)(ศาลายา)

 สถานที่สำคัญใกล้เคียง

ห้างสรรพสินค้า
ตลาดศาลายา
Makro ศาลายา
Chinatown ศาลายา
Lotus’s ศาลายา
Central ศาลายา
HomePro ศาลายา

สถานศึกษา
ม.มหิดล ศาลายา
วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
รร.มหิดลวิทยานุสรณ์
ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

สถานพยาบาล
รพ.ศาลายา
รพ.พุทธมณฑล
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

14
โปรโมทสินค้าฟรี / หมอออนไลน์: โรคโควิด-19
« เมื่อ: วันที่ 5 พฤษภาคม 2025, 13:28:56 น. »
หมอออนไลน์: โรคโควิด-19

สาเหตุ

โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจชนิดรุนแรง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ซึ่งมีชื่อว่า Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2)* สามารถติดต่อจากคนสู่คนอย่างง่ายดายแบบไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ ด้วยส่วนมากติดต่อโดยการสูดเอาฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก/น้ำลายขนาดใหญ่ ที่ผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจรดใส่เวลาพูดคุยหรือส่งเสียงร้อง (ร้องเพลง ตะโกน) การแพร่เชื้อโดยวิธีนี้เรียกว่า "การติดต่อผ่านฝอยละออง (droplet transmission)" ซึ่งสามารถกระจายออกไปภายในรัศมีไม่เกิน 1 เมตร

การติดต่อที่พบได้บ่อยอีกวิธีหนึ่ง คือ การติดต่อโดยการสัมผัส กล่าวคือ ฝอยละอองเสมหะ/น้ำลายขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยในอากาศ ซึ่งผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อปล่อยออกมานั้นจะตกลงบนพื้นผิวต่าง ๆ หรือมือของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อที่ปนเปื้อนเสมหะ/น้ำลายของตัวเอง เผลอไปสัมผัสถูกมือของผู้อื่น หรือไปจับต้องวัตถุหรือพื้นผิวต่าง ๆ (ซึ่งเชื้อมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นชั่วโมง ๆ บางกรณีอาจนานถึง 72 ชั่วโมง) เมื่อคนปกติเกิดไปสัมผัสมือผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อ วัตถุหรือพื้นผิวต่าง ๆ แล้วเผลอนำมือที่เปื้อนเชื้อนั้นไปสัมผัสหน้า ตา จมูก ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ การติดต่อโดยการสัมผัส ผู้สัมผัสเชื้อไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยในเวลาเดียวกัน จึงสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนที่อยู่ห่างไกลออกไปได้

นอกจากนี้ ยังพบว่าการอยู่ในพื้นที่หรือห้องที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ฝอยละอองเสมหะ/น้ำลายขนาดเล็กมาก (น้อยกว่า 5 ไมครอน) หรือฝอยละอองเสมหะ/น้ำลายที่ระเหยไปจนมีขนาดเล็ก ซึ่งผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อปล่อยออกมาสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นชั่วโมง ๆ และกระจายไปได้ไกลกว่า 1 เมตร เมื่อคนปกติสูดเอาฝอยละอองนี้เข้าไปก็เกิดการติดเชื้อได้ การแพร่เชื้อโดยวิธีนี้เรียกว่า "การติดต่อผ่านอากาศ (airborne transmission)" ซึ่งพบว่าโรคโควิด-19 มีการติดต่อโดยวิธีนี้เป็นส่วนน้อย

ระยะฟักตัว ระยะที่นับจากวันที่ติดเชื้อจนมีอาการป่วยไข้ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2-14 วัน ส่วนน้อยอาจมีระยะฟักตัวมากกว่า 14 วันขึ้นไป**

ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะฟักตัว (เรียกว่า "ผู้ป่วยก่อนมีอาการ" หรือ "presymptomatic") สามารถแพร่เชื้อได้ ตั้งแต่ 48 ชั่วโมงก่อนแสดงอาการ

นอกจากนี้ มีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยของโรคนี้แต่อย่างใดเลย (เรียกว่า "ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ" หรือ "asymptomatic" ซึ่งพบได้ราวร้อยละ 20-30 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด) ก็สามารถแพร่เชื้อได้

การติดเชื้อราวครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) เป็นการติดมาจากผู้ที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งหมายรวมถึงผู้ป่วยก่อนมีอาการและผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ

*กลุ่มไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคในคนทุกปีมาแต่นานนม มีอยู่ 4 สายพันธุ์ อันเป็นสาเหตุของการเกิดไข้หวัดธรรมดาที่พบในคนทั่วไป ซึ่งมีความรุนแรงไม่มาก และคนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อไวรัสพวกนี้

แต่ต่อมาเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ได้เกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ 2 ชนิด ได้แก่ ไวรัสโคโรนาซาร์ส (SARS-CoV, Severe acute respiratory syndrome coronavirus) ซึ่งทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส (SARS, Severe acute respiratory syndrome) ในปี 2545 และไวรัสโคโรนาเมอร์ส (MERS-CoV, Middle East respiratory syndrome coronavirus) ซึ่งทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส (MERS, Middle East Respiratory Syndrome) ในปี 2555

โรค 2 ชนิดนี้มีความรุนแรงทั้งคู่ โดยมีอัตราการเสียชีวิตถึงประมาณร้อยละ 11 สำหรับโรคซาร์ส (มีผู้ป่วยในมากกว่า 30 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 8,422 ราย เสียชีวิตราว 916 ราย) และประมาณร้อยละ 34 สำหรับโรคเมอร์ส (มีผู้ป่วยใน 27 ประเทศ รวมทั้งสิ้นราว 2,500 ราย เสียชีวิตราว 850 ราย)

เมื่อปลายปี 2562 เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนาชนิดที่ 7 เรียกว่า "โรคโควิด-19 (COVID-19)" และเรียกไวรัสตัวใหม่นี้ว่า ไวรัสโคโรนาโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงชนิดที่สอง (Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2, SARS-CoV-2) เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสโรคซาร์ส แต่มีความรุนแรงและการระบาดของโรคต่างจากโรคซาร์ส

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเชื้อไวรัสตัวใหม่นี้มาจากไหน สันนิษฐานว่าอาจติดมาจากตัวนิ่ม ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสตัวใหม่นี้จากค้างคาวมาสู่คน

**มีรายงานการศึกษาที่อู่ฮั่นว่า มีค่ามัธยฐานของระยะฟักตัว 5.1 วัน (หมายความว่าผู้ป่วยครึ่งหนึ่งมีระยะฟักตัวน้อยกว่า 5.1 วัน และครึ่งหนึ่งมีระยะฟักตัวมากกว่า 5.1 วัน) และร้อยละ 97.5 ของผู้ป่วยมีอาการเกิดขึ้นภายใน 11.5 วัน

อาการ

ผู้ติดเชื้อบางรายไม่มีอาการผิดสังเกตแต่อย่างใดเลย แต่สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้

ส่วนผู้ติดเชื้อกลุ่มที่มีอาการ เริ่มแรกจะมีอาการไข้ (มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส) อ่อนเพลีย ตามมาด้วยอาการไอแห้ง ๆ เป็นส่วนใหญ่

นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร ไอมีเสมหะ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามข้อหรือกล้ามเนื้อ หนาวสั่น เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล แน่นหน้าอก ใจสั่น มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตาแดง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน

บางรายอาจไม่มีอาการเป็นไข้ตัวร้อน แต่มีอาการไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล คล้ายเป็นหวัดธรรมดา บางรายอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตาแดง หรือผื่นขึ้นร่วมด้วย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ราวร้อยละ 80) มีอาการเพียงเล็กน้อย คล้ายเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ และหายได้เอง

ส่วนน้อย (ราวร้อยละ 20) มีอาการรุนแรง คือหลังมีไข้ ไอ ได้ราว 1 สัปดาห์ อาจเกิดปอดอักเสบแทรกซ้อน (มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก บางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรงร่วมด้วย) หรือภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา

ภาวะแทรกซ้อน

โรคโควิด ถึงแม้จะเป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่เชื้อไวรัสโควิดยังกระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาการอักเสบที่รุนแรง (ไวรัสกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันหลั่งสารที่มีชื่อว่า "ไซโทคีน (cytokine)" ออกมาปริมาณมาก เรียกว่า "ภาวะพายุไซโทไคน์ (cytokine storm)" ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออวัยวะหลายระบบของร่างกาย ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย

ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ได้แก่

    ปอดอักเสบชนิดร้ายแรง กลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome/ARDS) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย
    ภาวะโลหิตเป็นพิษ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
    โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว
    โรคเลือดและหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดฝอยมีลิ่มเลือด (thrombosis) ซึ่งอาจพบในหัวใจ ปอด ตับ ไต, ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC, disseminated intravascular coagulation), ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (thromboembolism) เช่น หลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (deep vein thrombosis) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอด (pulmonary embolism) ที่ร้ายแรงตามมาได้
    โรคระบบประสาทและสมอง เช่น ชัก เดินเซ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง (ตีบหรือแตก) อัมพาตครึ่งซีก กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ไมแอสทีเนียเกรวิส โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
    โรคตับเฉียบพลัน (acute liver injury) ซึ่งมีความผิดปกติได้หลายอย่าง รวมทั้งตับวาย
    โรคไตเฉียบพลัน (acute kidney injury) ซึ่งมีความผิดปกติได้หลายอย่าง รวมทั้งไตวาย
    ในเด็กพบภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่ก็มีบางรายที่อาจเกิดกลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (multisystem inflammatory syndrome in children/MIS-C) แทรกซ้อน ซึ่งอาจร้ายแรงถึงทำให้เสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

เนื่องจากโรคโควิด-19 มีอาการและสิ่งตรวจพบคล้ายโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ (เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ) จากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสชนิดอื่น ๆ จึงไม่อาจวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบได้

หากสงสัย เช่น มีประวัติสัมผัสโรค เดินทางไปหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ หรือเป็นกลุ่มที่มีอาชีพหรือพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดโรคโควิด-19 เแพทย์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยทำการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 (เชื้อโควิด-19) จากสารคัดหลั่งที่จมูกหรือลำคอของผู้ป่วยซึ่งเก็บตัวอย่างโดยการใช้ไม้ป้ายจมูกหรือคอ (nasal/throat swab) และทำการตรวจด้วยวิธีที่เรียกว่า "Reverse transcription-polymerase chain reaction (RT-PCR)"

นอกจากนี้ แพทย์จะทำการตรวจดูภาวะแทรกซ้อน เช่น เอกซเรย์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (ตรวจดูอาการปอดอักเสบ) ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น

การรักษาโดยแพทย์

1. ในรายที่ตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ไม่มีอาการและรู้สึกสบายดี ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นอยางน้อย 5 วัน และสังเกตอาการ โดยไม่ต้องให้ยารักษา

2. ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่เป็นปอดอักเสบ และไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง* ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีอาการทั้งหมด และมักจะหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องให้ยารักษา หรือเพียงให้ยารักษาตามอาการแบบเดียวกับการรักษาไข้หวัด (เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ เป็นต้น) และแนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ และให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นอย่างน้อย 5 วัน

ผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อยสามารถพักรักษาตัวเองและเฝ้าดูอาการอยู่ที่บ้าน และให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นอย่างน้อย 5 วัน

3. ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง แต่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคโควิด-19 ที่รุนแรง* หรือผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง (ซึ่งยังไม่ต้องให้ออกซิเจน) แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส (nirmatrelvir/ritonavir, remdesivir หรือ molnupiravir) ซึ่งมีขนาด วิธีใช้ ผลข้างเคียง และข้อควรระวังยาที่แตกต่างกัน แพทย์จะเลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยพิจารณาให้เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย และจะต้องให้ภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดี

โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาเม็ด nirmatrelvir/ritonavir (เป็นยาต้านไวรัส 2 ชนิดรวมในเม็ดเดียว มีชื่อการค้าว่า Paxlovid) กิน 5 วัน ยานี้มีประสิทธิภาพดีในการรักษา แต่มีข้อเสียคือ ไม่ควรกินร่วมกับยาอื่นจำนวนมาก เพราะอาจมีปฏิกิริยาต่อกัน จนเกิดผลลบต่อร่างกายหรือการรักษาได้, ยา remdesivir เป็นยาที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ วันละครั้ง 3 วัน ซึ่งมีความไม่สะดวก, ส่วนยาเม็ด molnupiravir ให้กิน 5 วัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพด้อยกว่าอีก 2 ชนิดข้างต้น จะใช้เมื่อไม่สามารถใช้ยาดังกล่าว มีข้อดีคือ ใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ ได้ แต่มีข้อเสียคือ ไม่ควรใช้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร

4. แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ถ้ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีไข้ตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป วัดได้อย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง โดยวัดห่างกัน 4 ชั่วโมง
    มีภาวะขาดออกซิเจน มีค่าระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 95% (มีค่าเท่ากับหรือต่ำกว่า 94%)
    เป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง และขาดคนดูแลได้ตลอดเวลา
    มีภาวะแทรกซ้อน หรือมีการกำเริบของโรคประจำตัวที่เป็นอยู่เดิม
    มีภาวะอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องรับตัวไว้ในโรงพยาบาล
    ผู้ป่วยเด็ก ที่มีภาวะที่จำเป็นต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือให้ออกซิเจน มีอาการซึม ชัก ท้องเดิน อาเจียน กินไม่ได้ ขาดน้ำ เป็นต้น

แพทย์จะทำการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ เอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อประเมินความรุนแรง และค้นหาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

การรักษา แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส (nirmatrelvir/ritonavir, remdesivir หรือ molnupiravir) อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อกำจัดเชื้อไวรัสโควิด-19 และยาสเตียรอยด์ (เช่น เดกซาเมทาโซน เพร็ดนิโซโลน) เพื่อลดปฏิกิริยาการอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นปอดอักเสบรุนแรงในผู้ใหญ่ หรือในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่มีอาการหายใจเร็วผิดปกติ (อายุ 0-2 เดือน หายใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที, 2-12 เดือน หายใจมากกว่า 50 ครั้งต่อนาที, 1-5 ปี หายใจมากกว่า 40 ครั้งต่อนาที, มากกว่า 5 ปี หายใจมากกว่า 30 ครั้งต่อนาที) และต้องให้ออกซิเจนในการรักษา แพทย์จะให้ยาต้านไวรัส remdesivir และยาสเตียรอยด์

นอกจากนี้ แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ และทำการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่ตรวจพบ เช่น ให้น้ำเกลือ, ให้ออกซิเจน, ใส่ท่อช่วยหายใจ ใช้เครื่องช่วยหายใจ ใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (extracorporeal membrane oxygenation/ECMO), ให้ยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน (รวมทั้งภาวะโลหิตเป็นพิษ), ให้สารกันเลือดเป็นลิ่ม (เช่น เฮพาริน) ในรายที่มีสัญญาณของการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ, ทำการล้างไต (dialysis) ในรายที่มีภาวะไตวาย เป็นต้น

ผลการรักษา ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่รุนแรง จะหายเป็นปกติได้ในราว 2 สัปดาห์หลังมีอาการ

ในรายที่มีอาการรุนแรง จะหายเป็นปกติได้ในราว 2-6 สัปดาห์หลังมีอาการ บางรายอาจนานหลายเดือน ในรายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีอาการหนักและเข้ารักษาในโรงพยาบาล มีอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยทั่วโลกราวร้อยละ 1-2** ของผู้ป่วย ซึ่งจะเกิดขึ้นในราว 1-7 สัปดาห์หลังมีอาการ

ผู้ป่วยบางราย (มีรายงานว่าราวร้อยละ 10-40 ของผู้ป่วยทั้งหมด) แม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาจนหายและตรวจไม่พบเชื้อแล้ว แต่ก็ยังอาจมีอาการผิดปกติอย่างต่อเนื่องนานเป็นเดือน ๆ หรือเป็นปี ๆ แพทย์เรียกภาวะที่มีอาการผิดปกตินานเกิน 4 สัปดาห์หลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 นี้ว่า "กลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19" (post-COVID-19 syndrome) หรือ "ภาวะหลังเป็นโควิด-19 (post-COVID-19 condition)" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "โควิดยาว" (long COVID)*** มักพบในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ก็อาจพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยและแข็งแรงดีมาก่อน รวมทั้งผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย และไม่มีอาการได้เช่นกัน

*กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ที่สำคัญ ได้แก่

    ผู้สูงอายุ (มากกว่า 60 ปีขึ้นไป) อายุยิ่งมากยิ่งเสี่ยงมากขึ้น
    ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ยากดภูมิคุ้มกัน ยาสเตียรอยด์ (ที่มีขนาดเทียบเท่า prednisolone 15 มก./วัน นาน 15 วันขึ้นไป)
    ผู้ที่ป่วยมีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน (ที่ควบคุมไม่ได้) โรคปอดเรื้อรัง (เช่น ถุงลมปอดโป่งพอง) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป) ภาวะไตวายเรื้อรัง (stage 3 ขึ้นไป) มะเร็ง (ที่กำลังรับการรักษา)
    ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นโรคเอดส์ (ที่มีค่า CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.)
    ผู้ที่มีภาวะอ้วน (มีน้ำหนักมากว่า 90 กก. หรือมีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 30 กก./ตร.เมตร)
    สำหรับกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี, เด็กที่มีภาวะอ้วน เป็นโรคพันธุกรรม กลุ่มอาการดาวน์ มีภาวะพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรงหรือมีพัฒนาการช้า เป็นเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (รวมทั้งโรคหืด) มะเร็ง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

หมายเหตุ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่มานาน และหญิงตั้งครรภ์ พบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มนี้เมื่อติดเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าจะมีอาการมากน้อยเพียงใด ก็ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้แพทย์พิจารณาให้การรักษา (รวมทั้งการให้ยาต้านไวรัส) ตามความรุนแรงของโรคที่ตรวจพบ


**อัตราตายมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ขึ้นกับจำนวนผู้ป่วยที่ค้นพบ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยที่ไม่ได้ถูกตรวจหาเชื้อ) สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และประสิทธิภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วย

ความรุนแรงของโรคขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาที่เป็นตัวก่อโรค และระดับภูมิคุ้มกันหมู่ของประชากรซึ่งเกิดจากการฉีดวัคซีน

ไวรัสตัวนี้มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ ๆ หลายสายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์แอลฟา ซึ่งพบครั้งแรกที่อังกฤษ, สายพันธุ์บีตา ซึ่งพบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้, สายพันธุ์แกมมา ซึ่งพบครั้งแรกที่บราซิล, สายพันธุ์เดลตา ซึ่งพบครั้งแรกที่อินเดีย, สายพันธุ์แลมบ์ดา ซึ่งพบครั้งแรกที่เปรู, สายพันธุ์โอมิครอน (โอไมครอน) ซึ่งพบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ เป็นต้น เชื้อเหล่านี้มีความเร็วในการแพร่เชื้อ อาการแสดง และความรุนแรงที่ต่างกัน

สำหรับสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งพบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้เมื่อปลายปี 2564 ได้ระบาดไปยังประเทศต่าง ๆ และมีการกลายพันธุ์เรื่อยมาเป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ หลายชนิด นับว่าเป็นเชื้อที่ก่อโรคโควิด-19 หลัก ซึ่งสามารถแพร่โรคได้เร็วขึ้น แต่มีความรุนแรงน้อยลง

***โควิดยาว มีอาการที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนล้า ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (อาจถึงขั้นทำงานไม่ได้ เดินไม่ได้) เจ็บหน้าอก เจ็บคอ ไม่มีสมาธิ ความคิดสับสน มีความวิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น เห็นบ้านหมุน ใจเต้นเร็วหรือใจสั่น จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส มีไข้ต่ำ ไอ เบื่ออาหาร ท้องเดิน ปวดหูหรือมีเสียงในหู ผมร่วง มีผื่นตามตัว ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่งอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ไม่มีลักษณะตายตัว บางรายอาจมีอาการมากจนทำงานไม่ได้ ต้องนั่งรถเข็น หรือต้องให้ออกซิเจนช่วยในการหายใจ

สันนิษฐานว่า ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นอาการที่ตกค้างมาแต่แรก อีกส่วนหนึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับอาการที่เกิดจากอวัยวะต่าง ๆ (เช่น ปอด หัวใจ สมอง) ถูกเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำลายจนทำงานผิดปกติ รวมทั้งอาจเกิดจากผลกระทบต่อจิตใจผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับโรคที่รุนแรงและจำเป็นต้องอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลนาน ๆ (เกิดภาวะที่เรียกว่า "ภาวะจิตเครียดหลังเผชิญเหตุสะเทือนขวัญ" post-traumatic stress disorder/PTSD)

ส่วนผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย แล้วเกิดภาวะ "โควิดยาว" ยังอธิบายสาเหตุไม่ได้ชัดเจน บ้างสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากความกลัว ความวิตกกังวล ความเครียด หรือมีความผิดปกติของเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ (เช่น สมอง หัวใจ) ที่เกิดจากการบ่อนทำลายโดยเศษซากของเชื้อโควิด-19 ซึ่งยังไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการตรวจในปัจจุบัน (มีรายงานการทดลองฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ผู้ที่มีภาวะโควิดยาว พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งอาการดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า สาเหตุหนึ่งของภาวะโควิดยาวเกิดมาจากมีเศษซากของเชื้อโควิด-19 หลงเหลืออยู่ในร่างกาย เมื่อได้รับวัคซีนเข้าไปทำลายเชื้อให้หมดไปจึงทำให้อาการดีขึ้น)

สำหรับกลุ่มอาการภายหลังเป็นโควิด-19 (โควิดยาว) แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ (เช่น ผู้ที่มีอาการปวด แพทย์จะให้ยาบรรเทาปวด ผู้ที่มีอาการหอบเหนื่อย แพทย์จะให้ยาขยายหลอดลม และอาจต้องให้ออกซิเจน ผู้ที่มีความเครียด วิตกกังวล หรือนอนไม่หลับ แพทย์จะให้ยากล่อมประสาท และ/หรือยานอนหลับ เป็นต้น) แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยให้รู้จักดูแลสุขภาพตนเอง (ในเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อน การคลายเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ) และติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ส่วนอาการจะเป็นนานแค่ไหนยังไม่มีข้อสรุป แต่คาดว่าอาการบางอย่าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดจากอวัยวะถูกทำลาย) อาจเป็นนานเป็นปีหรือหรือมากกว่า หรือตลอดไป ซึ่งจะต้องรอการติดตามศึกษาต่อไป

การดูแลตนเอง

หากมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อโควิด-19, อยู่หรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค, เข้าไปในสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ (เช่น บ่อน สนามมวย สถานบันเทิง ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เป็นต้น) หรือมีอาการเจ็บป่วย (เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ไอ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส เป็นหวัด เจ็บคอ ท้องเดิน เป็นต้น) ซึ่งสงสัยว่าจะเป็นโรคโควิด-19, หรือใช้ชุดตรวจแอนติเจน (antigen test kid/ATK) ด้วยตนเองให้ผลเป็นบวก ควรไปปรึกษาแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว

15
โปรโมทสินค้าฟรี / มือถือ Vivo วีโว่ vivo S16 (12GB/256GB)
« เมื่อ: วันที่ 4 พฤษภาคม 2025, 19:22:54 น. »
มือถือ Vivo วีโว่ vivo S16 (12GB/256GB)
N/A

วีโว่ vivo S16 (12GB/256GB)
Vivo S16 หน้าจอ Amoled ขนาด 6.78 นิ้ว กล้องหลัง 3 เลนส์ ความจุแบตเตอรี่ 4,600 mAh รองรับชาร์จไว 66W

รายละเอียดเบื้องต้น
   ยี่ห้อ-รุ่น              วีโว่ vivo S16 (12GB/256GB)
   ราคากลาง            -
   จำนวนซิม           2 ซิม (Nano Sim)
   แบบดีไซน์           จอสัมผัส
   สี                    Gold, Black, Other(Mint)

   ความถี่-เครือข่าย
2G(GSM 850 / 900 / 1800 / 1900)
3G(HSDPA 800 / 850 / 900 / 1700(AWS) / 2100)
4G(1, 3, 4, 5, 8, 19, 28, 34, 38, 39, 40, 41)
5G(1, 3, 5, 8, 28, 41, 77, 78)

   ขนาด-น้ำหนัก                  ยาว 164.1 x กว้าง 74.8 x หนา 7.4 มม., น้ำหนัก 182 กรัม
   ความจุข้อมูลภายใน (ROM)  256 GB
   ความจุข้อมูลภายนอกสูงสุด      -
   แบตเตอรี่ และระบบชาร์จ       ความจุแบตเตอรี่ 4,600 mAh

จอแสดงผล
   ชนิดจอ                จอสัมผัส (Amoled)
   ความละเอียด          6.78 นิ้ว, 388 ppi, 1,080 x 2,400 px

   รายละเอียดอื่น
ระบบปฏิบัติการ Android 13, Origin OS 3
ประมวลผลชิปเซ็ต Qualcomm SM8250-AC Snapdragon 870 5G
กล้องหลัง 3 เลนส์ เลนส์หลัก 64 MP, f/1.9 + เลนส์ ultrawide 8 MP, f/2.2 + เลนส์ macro 2 MP, f/2.4
มีระบบเซนเซอร์ Fingerprint (under display, optical), accelerometer, gyro, proximity, compass, color spectrum
รองรับชาร์จไว 66W

กล้องถ่ายรูป
   ขนาด-ความละเอียด                       กล้องหลัง (64 Mpx), กล้องหน้า (50 Mpx)
   ความละเอียดของภาพภ่ายสูงสุด
   คุณสมบัติ                                 Auto Focus, Flash

ระบบปฏิบัติการ
   หน่วยประมวลผล (CPU)           Octa-core
   หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU)   Adreno 650
   หน่วยความจำ (RAM)               12.0 GB
   ระบบเชื่อมต่อภายนอก             USB(Type-C 2.0), Bluetooth(5.2), NFC, Wi-Fi(802.11 a/b/g/n/ac/6, dual-band, Wi-Fi Direct)
   ระบบรับส่งข้อความ               SMS, MMS, EMAIL
   การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต          3G, GPRS, EDGE, WiFi, 4G, 5G
   ระบบ GPS                        GPS, GLONASS, GALILEO, BDS

หน้า: [1] 2 3 ... 12






















































อยากขายของดี
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
ขายสินค้าไม่สต๊อกสินค้า
เริ่มขายของออนไลน์
รับทำ seo ด่วน
smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
ไม่รู้จะขายอะไรดี

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
โพสกระตุ้นยอดขาย
วิธีกระตุ้นยอดขาย เซลล์
วิธีแก้ปัญหายอดขายตก
เริ่มต้นขายของ
แหล่งรับของมาขายออนไลน์
ขายของออนไลน์อะไรดี
อยากขายของออนไลน์
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี

กลยุทธ์การหาลูกค้าใหม่
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
วิธีการหาลูกค้าของ sale
ทำ SEO ติด Google
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี
วิธีหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
การหาลูกค้าใหม่ รักษาลูกค้าเก่า
ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า
เพิ่มฐานลูกค้าใหม่
รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด

โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
ทําไงให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
เคล็ดลับขายของดี
ค้าขายไม่ดีทำอย่างไรดี
งานโพสโปรโมทงาน
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
หากลยุทธ์เพิ่มยอดขาย